ชื่อโครงการภาษาไทย เรียก "คอมพิทักษ์" ภาษาอังกฤษใช้ว่า "Comsentry"
ที่มาโครงการ เพื่อเป็นรวบรวมข้อมูลการใช้งานที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์นเน็ต มาทำการตรวจสอบความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการใช้งานข้อมูล และใช้ในการสืบค้นหาข้อมูลที่ปลอดภัยปราศจากไวรัสและภัยคุกคามจากการท่องโลกอินเทอร์เน็ต
คอมพิทักษ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ส่วนการสืบค้นหาข้อมูล : จัดทำเพื่อหาข้อมูลรายชื่อบุคคล ค่า IP , Domain , ASN และ E-mail เพื่อดูประวัติการใช้งานในโลกอินเทอร์เน็ตจากการทิ้งร่องรอยไว้ไม่ว่าเป็นการใช้งานติดต่อสื่อสารในเว็บบอร์ด ข้อมูลสังคมออนไลน์ (Social Network) ทั้งนี้สามารถค้นหาประวัติข้อมูล จาก ข้อมูลไอพี (IP) , ข้อมูลรายชื่อโดเมนแนม (Domain name) และข้อมูลค่าหมายเลข AS (Autonomous System) และคำค้นหาอื่น โดยจัดเรียงเหตุการณ์ตามวันเวลา
โดยทีมงาน SRAN ได้พัฒนาการค้นหาชนิดพิเศษที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า "semantic search" นั้นหมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลหลายๆที่มาแสดงผลในที่เดียว ได้แก่การนำการค้นหาจาก google , bing ,yahoo , alexa , zone-h , Phishtak ,Hurricane Electric Internet รวมถึงการได้ข้อมูลจาก Honeypot มาคัดแยกข้อมูล (Correlation) เพื่อนำค่ามาประมวลจนทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน
2. ข้อมูลและสถิติ : ข้อมูลภัยคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ว่าเป็นภัยคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์ , ข้อมูลการโจมตีเว็บไซต์ ภัยคุกคามที่เกิดจากอีเมล์ขยะ โดยคัดแยกเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยจัดเรียงเป็นฐานข้อมูลโดยแบ่งได้ดังนี้
2.1 ข้อมูลและสถิติ เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตี เช่น เว็บที่ถูกแก้ไขข้อมูลจากนักโจมตีระบบ (Web Defacement) , เว็บใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีของนักโจมตีระบบ เป็นต้น ทั้งนี้จัดทำเป็นสถิติตามรายชื่อโดเมน ทั้งที่เป็นภาพรวมระบบ สถิติรายปี รายเดือน เพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคามและได้ปรับปรุงให้ปลอดภัยมากขึ้น
2.2 ข้อมูลและสถิติ เว็บไซต์ในประเทศไทยที่เป็นฟิชชิ่ง (Phishing) เช่น เว็บที่มีลิงค์ที่หลอกหลวงให้เราเข้าหน้าเว็บไซต์ที่ผิด ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามแก่การใช้ข้อมูลและการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะคัดแยกเฉพาะเว็บไซต์ในประเทศไทย ที่มีโอกาสเป็นฟิชชิ่ง (Phishing) ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจในการเผยแพร่ เพื่อให้รับทราบและได้แก้ไขได้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีการจัดทำเป็นภาพรวมระบบ สถิติตรายปี รายเดือน เพื่อใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลและใช้ในการปรับปรุงให้ปลอดภัยมากขึ้นในอนาคต
2.3 ข้อมูลและสถิติ เว็บไซต์ในประเทศไทยที่มีโอกาสติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เว็บไซต์ที่มีไฟลล์เอกสารที่มีความเสี่ยง ให้ผู้ใช้งานได้มีการดาวโหลด (Download) ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เว็บไซต์ที่มีสคิปอันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการจัดทำเป็นภาพรวมระบบ สถิติตรายปี รายเดือน เพื่อใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลและใช้ในการปรับปรุงให้ปลอดภัยมากขึ้นในอนาคต
2.4 ข้อมูลและสถิติ เครื่องแม่ข่ายในประเทศไทยที่มีโอกาสเป็นเครื่องแพร่อีเมล์ขยะ (Spam) ตรวจสอบจากไอพีในประเทศไทยที่มีการแพร่กระจายอีเมล์ที่มีหัวข้อ (Subject) ในบัญชีดำ เป็นการโฆษณาขายสินค้า ที่มากเกินไป มีข้อความที่สร้างความน่ารำคาญ และผู้บริโภคไม่ต้องการได้รับ ซึ่งรายชื่อบัญชีดำ (Blacklist) ได้จากฐานข้อมูลจาก Honeypot Project โดยคัดแยกเฉพาะประเทศไทย ทั้งนี้จะมีการจัดทำเป็นภาพรวมระบบ สถิติตรายปี รายเดือน เพื่อใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลและใช้ในการปรับปรุงให้ปลอดภัยมากขึ้นในอนาคต
3. การให้ความรู้ ทางคอมพิทักษ์ มีบทความให้ความรู้ในแนวทางการป้องกันภัยคุกคามต่างๆจากการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ต รวมถึงการทำการ์ตูนเพื่อสร้างความตระหนักในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสร้างเป็นสื่อความรู้ที่เข้าใจง่ายขึ้นและเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับนักท่องอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ทั้งนี้ "คอมพิทักษ์" ได้จัดให้มีหน้าสมาชิกเพื่อคนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและควรปรับปรุงด้านความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล อีกทั้งสามารถร่วมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเทศไทยจากภาพสวยๆ จากการไปเที่ยวมาได้มีโอกาสแสดงภาพถ่ายนั้นเป็นภาพพื้นหลัง (Background) ของฉากเว็บไซต์ได้อีกด้วย
ในขณะนี้ คอมพิทักษ์ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา และคิดว่าจะพร้อมเปิดใช้งานได้เต็มที่ในเร็วๆ นี้
นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman
Nontawattana Saraman