จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจาก การก่อตัวประจุไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กจากอากาศส่งเป็นสัญญาณทางข้อมูลที่ใช้ ความเร็วเท่าแสงวิ่งผ่านสายเคเบิลใต้น้ำและส่งตรงเข้าสู่ภาคพื้นดินผ่านเข้า สู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งสารข้อความไปยัง คนที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นระยะทางที่ห่างกันเป็นทวีปได้สามารถเห็นหน้าตากัน ได้พูดคุยกันผ่านจอสี่เหลี่ยมที่อยู่ตรงหน้าเรา เพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ บนยุคดิจิตอลที่มีตัวกลางของการเชื่อมต่อนั้นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” ส่งผลให้ชีวิตของเราเข้าต้องเข้าสู่สังคมดิจิตอล (Digital) อย่างเต็มตัวตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าและยังคงดำเนินอยู่แม้ในยามที่เราหลับไหล และสิ่งนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโครงการนี้ขึ้นมา
เนื่องด้วยข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันล้วนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอัน มาก เรากำลังเข้าสู่ IoT (Internet of Things) บนสภาวะ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data อันเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญหน้าทุกครั้งที่อยู่หน้าจอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายกับการใช้ชีวิตให้สมดุลและปรับตัวให้เข้ากับ ข้อมูลข่าวสารที่ผ่านเข้าสู่สายตาเรา ทุกที่มีแต่การออนไลน์ขึ้น ไม่ว่าการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกิจ การหาข้อมูลต่างๆ ล้วนต้องพึ่งพาการออนไลน์
การเข้าถึงข้อมูลไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้ใหญ่ที่เข้าถึงข้อมูลได้อีกต่อไป เด็กอันเป็นเยาวชนของชาติก็เข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน การเข้าถึงข้อมูลของเด็ก และ ผู้ใหญ่ ย่อมแตกต่างกันอันเนื่องจากเด็กนั้นยังไม่สามารถแยกแยะถึงข้อมูลที่ได้พบเจอ บนโลกออนไลน์ได้มากกว่าผู้ใหญ่
ดังนั้นหากมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอันไม่เหมาะสมและอันเป็นภัย อันตรายต่อเยาวชนของเราย่อมเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นทาง SRAN ทีมได้ระดมเทคนิคที่ได้สะสมมากว่า 10 ปี จัดทำเทคโนโลยีที่คิดว่าเหมาะสม สะดวกในการใช้งาน และเข้าถึงกับคนที่ไม่จำเป็นต้องรู้เทคนิคมากก็สามารถใช้งานได้ “Simple is the Best” สิ่งที่ดีที่สุดคือการกลับคืนสู่สามัญ เพราะทางเราได้เล็งเห็นว่าส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากรอันมี ประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่เยาวชนที่ต้องได้รับการคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสมและส่ง เสริมข้อมูลอันมีคุณค่าในการพัฒนาการของเยาชนอันเป็นอนาคตของประเทศ จึงเห็นว่าควรจัดทำโครงการนี้ขึ้น
เรามีความตั้งใจทำโครงการนี้ ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่สุดเท่าที่จะมีกำลังทำได้ โดยใช้ชื่อโครงการนี้ว่า“D’ Family” หรือ เดอ แฟมมิลี่ จะเป็นตัวช่วยคัดกรองข้อมูลอันไม่พึ่งประสงค์ และสามารถป้องกันภัยอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านได้เป็นอย่างดี
อีกท้งระบบ Content Filtering ที่ใช้งานกันอยู่ส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศ ดังนั้นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมจึงถูกคัดกรองที่ภาษาอังกฤษ หากเป็นเนื้อหาภาษาไทย และภาษาในประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน นั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันมักจะไม่รู้จักและไม่สามารถคัดกรองเนื้อหาได้ครบตาม พื้นที่ประเทศนั้นจึงควรจัดทำระบบดังกล่าวเองเพื่อความถูกต้องและแม่นยำใน การคัดกรอง จึงเป็นเหตุให้เราต้องมาจัดทำโครงการนี้ขึ้น
“D’ Family : Internet Safety at Home” จึงเกิดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ปี 2014
หลักการทำงานของ D' Family เบื้องต้น
ปกติการใช้งานอินเทอร์เน็ตในครอบครัวบ้านทั่วไปเมื่อไม่มีระบบคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสม เด็กเยาวชนผู้ที่ใช้งานร่วมกับผู้ใหญ่ก็อาจประสบพบเจอเนื้อหาอันไม่พึ่งประสงค์ได้ทุกเมื่อในการท่องอินเทอร์เน็ต
แต่เมื่อมี D’ Family ไว้ในบ้านแล้ว เวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตจะทำการป้องกันไม่ให้เด็กเปิดเนื้อหา ข้อมูลอันไม่เหมาะสมจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
ด้วยเทคนิคการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Cloud Services บนเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์โดยมีระบบคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสมเป็นฐานข้อมูลกลางที่ทำให้ความปลอดภัยของครอบครัวที่ใช้ D’Family ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยไร้กังวัลในการเข้าถึงข้อมูลอันไม่พึ่งประสงค์ได้
สุดท้ายนี้
เราหวังว่า D’ Family โครงการเล็กๆ นี้จะประโยชน์กับสังคมในยุค Big Data ได้บ้าง
ดังเช่นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เคยกล่าวว่า “Only a life lived for others is a life worth while.”
ชีวิตที่ทำเพื่อคนอื่น นั้นคือคุณค่าต่อการมีชีวิต
Nontawattana Saraman
30/10/57
รายละเอียด http://defamily.sran.net