Pages

วันพุธ, สิงหาคม 28

มายาเทค

มายาเทค กับประเทศไทย
"เศรษฐกิจถดถอย อุปทานหมู่ ที่เป็นจริง"
เหตุเพราะ เราเล่นกับ Future มากเกินไป

ในศาสนาพุธ กล่าวไว้ว่า “ให้ดำเนินชีวิตโดยอยู่กับปัจจุบัน” แต่หลายครั้งที่เรา ก็จะแย้งว่า ชีวิตเราต้องมีอนาคต และทุกคนที่มีลมหายใจอยู่ ก็ต้องการอนาคตที่ดีขึ้น
ด้วยเหตุปัจจัยที่กระตุ้นกิเลสของเราเอง ทำให้การรู้เท่าทันสถานะการณ์รอบข้างได้น้อยลง

"เราเล่นกับ Future มากเกินไป" ในส่วนประกอบของเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่ ผมขอหยิบยกตัวอย่างสักเรื่อง อันได้แก่
ธุรกิจ e-Commerce เรากำลังเผชิญ "มายาเทค" ที่มาเป็น platform ข้ามชาติ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเป็นอยู่ เจ้าใหญ่ที่มาฆ่ารายเล็กรายน้อย ที่ปรับตัวไม่ทันและทุนไม่ถึง ทำลายโครงสร้าง การตลาด ระบบขนส่ง และอื่นๆ ชนิดที่ทุกคนต้องถอยเพราะไม่สามารถเห็นสภาพขาดทุนแบบนั้น นานๆ ได้
เจ้าใหญ่ที่ active อยู่คือ Lazada และ Shopee ยังไม่พบคำว่ากำไรมากว่า 3 ปี ล่าสุดปี 2018 ขาดทุนกว่า 4 พันล้านบาท รวมแต่เปิดมาเกือบหมื่นล้าน ซึ่งไม่แปลก ที่ต่างธุรกิจก็ต้องมีจุด ROI
ซึ่งชุดความคิดนี้ ถึงมีความเสี่ยงผู้เล่นในไทยก็ยอมสู้ เป็นทีมงานขั้นเทพก็ว่าได้แต่สู้ข้ามชาติไม่ได้ตรง ทุนที่หนาจ่ายแบบไม่อั้น ก็ต้องยอมกลุ่มจีน (Alibaba) จนในตลาดปัจจุบันของ e-Commerce ไทยมี active หลักเพียงแค่นี้ ยังไม่มีใครได้กำไรจากงานนี้ยกเว้น พวกที่ทำโลจีสติก อย่างเช่น Kerry เป็นต้น ที่กำไรงามและมีทีท่าว่าจะแซงรายใหญ่ในไทยเสียด้วย


E-commerce platform ขาดทุนเยอะขนาดนั้นทำไมยังคงทำธุรกิจต่อ ?
คำตอบคือ อยู่เพราะอนาคต
อีกทั้งจำนวนผู้ใช้งานกินประชากรมากขึ้น มีโอกาสคืนทุนได้ในไม่ช้า บริษัทโตขึ้น เงินหมุนเวียนจากบริษัทแม่ และธนาคาร เพื่อพยุงให้ทำธุรกิจต้องเดินต่อได้ .... (แบกกันต่อไปนะ Startup)

ด้วยการเล่น Future เกินไป ทำให้ Supply Chain ในประเทศไทย ทึ่ยังปรับตัวไม่ทัน จึงกระทบไปด้วย
และเมื่อแบกและเข็นกันไปไม่ไหว ก็ต้องหาทางลงแบบไม่เข้าเนื้อใคร (สร้างสกุลเงินใหม่มาล้างเลยไหม)

ไม่ต่างกับธุรกิจ Entertainment ก็เล่น Future เกินไป โดยเฉพาะธุรกิจ streaming online มาลักษณะเดียวกันคือ เป็น Platform ข้ามชาติ สะดวก ใช้งานไม่สะดุด เบื้องหลัง Infra ขนาดใหญ่ มิได้เพียงเสกขึ้นมาฟรี ทุกอย่างย่อมลงทุน และเป็นการลงทุนไม่น้อย ก็เป็นเช่น e-Commerce คือขาดทุนตลอด เพื่อต้องการได้มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และมาทำลาย Supply Chain ในประเทศ ที่ยังปรับตัวไม่ทัน

คำถามเมื่อไหร่ ธุรกิจเหล่านี้จะคืนทุน (ROI) ?
และเป็นเช่นนี้ Platform ข้ามชาติ เข้ามาให้คนติด ทำลาย Supply chain ที่หาเลี้ยงชีพเล็กๆน้อยๆ ของคนในชาติไป

และทั้งนี้ ยังไม่ร่วมกันกับ ธุรกิจอื่น ที่ใช้ นวัตกรรมเศรษฐกิจ ผ่าน platform เช่น อสังหาริมทรัพย์, รถยนต์ และการขนส่ง, การศึกษา พลังงาน การเงินและกลุ่ม Startup ที่ลงทุนกันเยอะเกินมูลค่า ซึ่งหากวิเคราะห์ให้ดี มีน้อยนักที่กำไร ส่วนใหญ่ "เล่นกับ Future เกินไป"

ด้วยเหตุนี้ย่อมกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจเรา ซึ่งมาในรูป "มายาเทค" นี้เอง

การก่อตัวของ "มายาเทค" ประกอบด้วย
(1) รูปแบบ platform ข้ามชาติ ที่มาพร้อมเทคโนโลยี มี Cloud Infra มี app ที่เข้าถึงง่าย พร้อมทำ Big data ต่อยอดเป็น AI ได้ -->
(2) ปั้มเงินจากนอกประเทศแบบไม่อั้นเพื่อเข้าแทนที่ระบบเดิม -->
(3) คนใช้งานแล้วติด จนต้องใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน -->
(4) ทำลายโครงสร้าง เดิมบนห่วงโซ่ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทัน เข้าแทนที่ อุปสงค์ อุปทาน ที่อ่อนแอ ของคนในชาติ

รวม (1) ถึง (4) ขอนิยามส่วนตัวว่า "มายาเทค"
และมายาเทคนี้แหละ ที่เราภาคภูมิใจหนักหนา กลัวตกยุคดิจิทัลกัน ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่เราใช้อยู่เป็นเพียงเปลือก มิใช่แก่น

ภาพ สรุปปรากฎการ์ณมายาเทค 

ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจ มันเกิดขึ้นในขั้นตอนที่ (2) ปั้มเงินออกมาไม่อั้น นี้แหละ ที่เรียกว่า เล่นกับ Future เกินไป ต่างชาติที่ลงเงินอยู่ได้ แต่โครงสร้างการค้าขายในชาติไทยจะออกอาการเสียมากกว่าได้และโทษเศรษฐกิจแย่ ตามระเบียบ

เงินที่ปั้มขึ้นมาเพื่อพยุงธุรกิจ platform ข้ามชาติ(จีน และอเมริกา) นี้แหละ มีผลกระทบกันและกันผลพ่วงจากสิ่งนี้ย่อมเกิดกับสิ่งนี้
เป็นไปตามกฎปฏิจจสมุปบาท ที่อุปมาอุปไมยดังว่า

"สรรพสิ่งยืมตัวเองมาจากการมีอยู่ของสิ่งอื่น เช่นเดียวกันกับ ในทะเลมีสายฝน ในหยาดฝนมีทะเลกว้าง ละอองไอในก้อนเมฆ แท้จริงแล้วคือท้องทะเลที่กำลังเดินทาง เมื่อเราเห็นฝนก็คือเห็นทะเล เห็นทะเลก็คือเห็นฝน" (จากการบรรยาย เรื่องสุญญตา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล 2549)

ฉันใด เมื่อก้อนเมฆคือหนี้สินก้อนโต ไม่นานต้องเทเป็นฝนลงสู่ท้องทะเลเป็นแน่แท้ และด้วย
ทุกอย่างเชื่อมและกระทบซึ่งกันและกัน เป็น "butterfly effect" แน่นอนกระทบไปหมด (รวมทั้งฮ่องกงก็เป็นได้ : P)

เงินที่ปั้มออกเพื่อสร้าง Platform ข้ามชาติ ต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดสุดถนนวิทยุ(เปรียบเทียบ) เพื่อรองรับ Big data และ AI ที่เราชื่นชมกัน

เงินที่ปั้มออกเพื่อพยุงธุรกิจให้ eyeball จำนวนมากเพียงเพื่อให้ app ติดตลาด เมื่อคนติด app จะได้ข้อมูล Big data และพฤติกรรมบริโภคจากเราไปทั้งสิ้น

เพราะตัวเราเอง....ที่เล่นกับ Future มากเกินไป

"มันเป็นเพียง มายาเทค ไม่ต้องตามให้ทันทั้งหมดเราก็อยู่ได้ (จริงไหม)


โปรดอยู่กับปัจจุบัน และรู้เท่าทัน ทุกอย่างมีทางออก
ด้วยความหวังดี

Nontawatt S
20/08/62

ไม่มีความคิดเห็น: