Pages

วันจันทร์, ตุลาคม 5

การทำ Penetration Test แบบมืออาชีพ ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้วเราพบว่าการทำ Penetration test นั้นมีความสำคัญกับการที่จะประเมินหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานไอซีที ของบริษัทแล้วนั้น ตอนนี้มาทำความเข้าใจมากขึ้นอีกชนิดหนึ่งของการทำ Penetration test นั้นคือการทำ Penetration test ภายในองค์กร หรือจะเรียกว่า white box ก็ได้ ซึ่งการทำงานประเภทนี้ต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ดูแลระบบของฝั่งผู้ใช้บริการ ตั้งแต่การให้แผนผังระบบเครือข่าย จำนวน IP Address ตลอดถึงรายละเอียดประเภทอุปกรณ์เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เริ่มกันถึงตอนที่ 2 ต่อเนื่องเลยแล้วกันครับ

2. การทำ Penetration test ภายในองค์กรเชิงลึก
เป้าหมายในการทำ Penetration test ภายในคือการทดสอบหาช่องโหว่ที่พบจากการใช้งานไอซีทีในองค์กรเพื่อประเมินช่องโหว่และทำการปิดกั้นช่องโหว่ที่ค้นพบขึ้นเพื่อไม่เกิดปัญหาขึ้นในระยะยาว

มีขั้นตอนการทำงานดังนี้

2.1 สำรวจ : สำรวจผังโครงสร้างงานได้ไอซีทีขององค์กร, แผนผังระบบเครือข่าย, ประเภทอุปกรณ์ประกอบด้วย
- Network Device ได้แก่ จำนวนอุปกรณ์ Router , อุปกรณ์ Switch, อุปกรณ์ Firewall, Network Load balacing, Network VPN, Bandwidth management, อุปกรณ์ Network IDS/IPS
ซึ่งต้องบอกตำแหน่ง (Perimeter zone , DMZ zone) และค่า IP Address เป็นต้น
- เครื่องแม่ข่าย (Server) ได้แก่ Web Server, Mail Server , DNS Server ภายใน, Proxy Server, Authentication Server, ERP Server ซึ่งต้องบอกตำแหน่ง (DMZ zone) และค่า IP Address เป็นต้น
- เครื่องลูกข่าย (Client) ได้แก่ ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้แก่ Window XP , Linux อื่นๆ ต้องบอกตำแหน่ง (VLAN) และค่า IP Address เป็นต้น

2.2 ตรวจสอบ : ตรวจสอบตามมาตราฐาน Security Checklist ดังนี้
ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยตามมาตราฐานของ อุปกรณ์ Network Devices ได้แก่ Security Checklist Router , Firewall , IDS/IPS เป็นต้น
ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยตามมมาตราฐานของ เครื่องแม่ข่าย (Server) ได้แก่ Security Checklist Windwos 2000 server , 2003 server , Linux Server เป็นต้น
ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยตามมาตราฐานของ เครื่องลูกข่าย (Client) ได้แก่ Security Checklist การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรตามมาตราฐาน ISO27001 เป็นต้น

ซึ่งในส่วน security checklist นั้นทางผู้ปฏิบัติงานสามารถนำข้อมูลจาก NIST , NSA หรือ Thaicert ในเอกสารตรวจสอบในแต่ละส่วนได้

2.3 วิเคราะห์ : การวิเคราะห์ช่องโหว่ที่พบจากการสำรวจและตรวจสอบ
ในการวิเคราะห์นี้สามารถใช้อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจหาความผิดปกติและช่องโหว่ที่พบตามอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) และเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่สำคัญได้
การใช้เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยง สิ่งที่ควรตรวจสอบให้มากขึ้นได้แก่

* การวิเคราะห์ในระดับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Analysis)
- ปริมาณการใช้งาน Bandwidth ของระบบเครือข่าย ทั้งข้อมูลขาเข้าและขาออก
- ปริมาณ Throughput ของระบบเครือข่ายทั้งขาเข้าและขาออก แยกตาม Application Protocol ที่สำคัญ
ด้วยเนื่องจากจะช่วยตรวจสอบถึงการใช้งานอันไม่พึ่งประสงค์ของ User ในองค์กร ว่ามีการแพร่ระบาดไวรัสคอมพิวเตอร์ , เครื่อง User เป็น Botnet , การส่งข้อมูลขยะ (spam) หรือมีพฤติกรรมที่ผิดต่อนโยบายบริษัทหรือไม่อีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้เราจะสามารถนำไปวิเคราะห์เป็นค่าภัยคุกคามในองค์กร ที่ใช้ประกอบกับขั้นตอนสุดท้ายคือการประเมินได้ต่อไป

** การวิเคราะห์ในระดับอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องแม่ข่ายที่สำคัญ
- ทำการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจดู Port Services ที่อุปกรณ์เครือข่าย และ เครื่องแม่ข่ายที่สำคัญเปิดอยู่
- วิเคราะห์ช่องโหว่จากการใช้เครื่องมือหลังจากตรวจ Port Services แล้วจะพบว่า Services ที่ทำการใช้งานอยู่บนอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องแม่ข่ายที่สำคัญ นั้นมีการเปิดใช้งานอยู่ นั้นมีความช่องโหว่ที่เป็นภัยรุนแรงหรือไม่ เช่น เปิด Port services 80 TCP เป็น Application Protocol ของ HTTP ซึ่งในนี้ประกอบด้วย Web Server ที่ใช้งานอยู่ที่เป็น IIS , Apache , หรืออื่นๆ ซึ่งหากเป็น Version ที่มีช่องโหว่ หรือมี code exploit ที่สามารถส่ง command หรือ script จากทางไกลและสามารถยึดครองเครื่องนั้นได้ก็จะถือว่าเป็นระดับภัยคุกคามที่รุนแรง เป็นต้น
- วิเคราะห์หา Security Patch ที่อัพเดทล่าสุดเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับอุปกรณ์เครือข่าย และ แม่ข่ายที่สำคัญ โดยทั้งนี้ควรทำการเตรียมแผนทดสอบถึงผลกระทบก่อนการอัพเดท Security Patch ก่อน

4. ประเมิน : ขั้นตอนนี้จะเป็นการสรุปผลความเสี่ยงที่พบจากขั้นตอนที่ผ่านมา โดยทำเป็นค่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยง และผลการปฏิบัติงาน รวมถึงแนวทางในการปิดกั้นส่วนที่เป็นช่องโหว่ (Hardening) และป้องกันในระยะยาว ซึ่งในส่วนนี้จะเน้นไปทางการทำรายงานผล ในรูปแบบเอกสาร
ขยายความค่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงเกิดจาก Risk = Vulnerability x Threat
ค่าความเสี่ยงที่ประเมินได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรด้วย หาดูแล้วไม่กระทบกับธุรกิจมากค่าความเสี่ยงนั้นก็จะแปรผันไปกับการประเมินความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน (Penetration tester) ซึ่งในแต่ละที่อาจมีค่าการประเมินไม่เหมือนกัน
เช่น ในกรณีที่พบว่า พบช่องโหว่ Web Server ที่ระบบ IIS 6.0 ที่ยังไม่ได้อัพเดท Patch security เมื่อประเมินแล้วว่า Web Server นั้นไม่สามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ต และเป็นเครื่องเฉพาะในแผนกใดแผนกหนึ่งดังนั้นระดับความสำคัญที่เป็นภัยคุกคามที่รุนแรงก็จะน้อยกว่าเครื่อง Web Server ที่เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ (Public IP) ได้เป็นต้น ซึ่งค่าดัชนีชี้วัดส่วนนี้ขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในการทำ Penetration Test และประสบการณ์ รวมถึงความเขี่ยวชาญของบุคคลนั้นในการประเมิน บางครั้งการให้บริษัทต่างที่กันมาประเมินหาความเสี่ยง ก็อาจมีค่ารายงานผลไม่เท่ากันเสมอไป ขึ้นอยู่กับทีมปฏิบัติงาน ซึ่งหากในทีมมี Certification ด้าน Security แทบไม่มีผลหากผู้ปฏิบัติงานหากขาดประสบการณ์ในส่วนการวิเคราะห์และประเมินค่าความเสี่ยงนี้ได้

สรุปได้ว่าค่า Vulnerability (ช่องโหว่ที่ค้นพบ จาก อุปกรณ์เครือข่ายที่สำคัญ และเครื่องแม่ข่ายที่สำคัญ) จะมีระดับความเสี่ยง สูง กลาง และต่ำ หรืออาจจะมีรายละเอียดมากกว่านั้น
ค่า Threat (ภัยคุกคาม) ขึ้นกับนโยบายองค์กร และการประเมินค่าจะผู้ปฏิบัติงาน นำมารวมค่ากันแล้วจะได้เป็นดัชนีชี้วัดความเสี่ยงได้ ซึ่งการประเมินส่วนนี้ก็เป็นเทคนิคลับของแต่ละบริษัทที่ใช้ในการประเมินและสามารถวัดผลได้จริงในทางปฏิบัติ

มาถึงตรงนี้บอกได้ว่าการประเมินความเสี่ยงนั้นไม่สามารถที่สิ้นสุดการทำงานได้จากการใช้เครื่องมือ (tools) มาแล้วจะสรุปค่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้งานไอซีทีองค์กรได้จำเป็นต้องอาศัยคนวิเคราะห์ถึงระดับภัยคุกคามและผลลัพธ์รายงานที่มีประโยชน์ต่อบริษัทเพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขให้ระบบมีความแข็งแรงและมีความปลอดภัยขึ้น

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman
05/10/52

ไม่มีความคิดเห็น: