Pages

วันเสาร์, กันยายน 9

สร้าง NAC (Network Access Control) บน SRAN Wall

ทุกวันนี้ปัญหาระบบเครือข่ายกับเป็นปัญหาภายในองค์กร และกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ยากแก่การควบคุม ปัญหาดังกล่าวคือการแพร่ระบาดไวรัสคอมพิวเตอร์ จากภายในเครือข่ายของตนเอง ทั้งที่เกิดจากเครื่อง client ในองค์กร และ เครื่องพกพาได้แก่ PC Notebook ที่สามารถนำไปใช้งานที่บ้าน หรือ ที่อื่นๆ และติดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งผิดปกติอย่างอื่นจากนอกวง LAN องค์กร และเมื่อนำมาใช้งานใน LAN องค์กรแล้ว จึงแพร่กระจายไวรัสคอมพิวเตอร์ไปเครื่องอื่นๆในองค์กรอีกด้วย ปัญหานี้ จะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อมีระบบ NAC (Network Access Control) เพื่อเข้ามาควบคุมการลงทะเบียนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเครื่องที่เป็น PC แบบตั้งโต๊ะ และ PC ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย รวมถึง Notebook , PDA เป็นต้น วิธีการป้องกันเครื่องพกพาที่นำมาใช้งานในองค์กร เรียกว่า “Endpoint security”

แนวคิด Endpoint Security คือ ปลอดภัยตั้งแต่แรกเข้าสู่ระบบเครือข่าย (LAN) โดยมุ่งป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากเครื่อง

ทางทีมพัฒนา SRAN จึงเห็นภัยคุกคามนี้ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากแต่เรามาสร้างระบบเครือข่ายให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอกแล้ว ยังไม่เพียงพอ แต่เรายังต้องเอาใจใส่ในเครือข่ายภายในองค์กรของเราอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และ ป้องกันภัยคุกคามในครั้งนี้ยากนัก รวมถึงต้องลงทุนจัดหาเทคโนโลยี เพื่อมาป้องกันภัยคุกคามชนิดนี้อีกด้วย จึงมีแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้ระบบที่ชื่อว่า SRANwall ซึ่งเป็น Security Gateway

การสร้าง NAC โดยใช้คู่กับ SRAN Wall ต้องมีอุปกรณ์เสริมดังนี้

  1. SRAN Wall 1 เครื่อง
  2. ระบบ แม่ข่ายตรวจไวรัสคอมพิวเตอร์ (Anti virus Server)
  3. ระบบประเมินความเสี่ยงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ VA (Vulnerability Assessment)

คุณสมบัติทำ NAC ใน SRAN Wall คือ

  1. การที่สามารถระบุเครื่องที่ทำการต่อเชื่อมระบบ LAN ในองค์กรได้ โดยที่ให้เครื่องมาลงทะเบียนที่ตัว SRANwall
  2. สามารถสร้าง Virtual LAN เพื่อทำการกักเครื่องที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายได้
  3. ใน Virtual LAN ที่ทำการ กักเครื่อง สามารถ ส่งข้อมูลไปบอกเครื่องแม่ข่ายตรวจไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือ ตรวจหาช่องโหว่ในเครื่องได้


ติดตั้งระบบ SRAN Wall ไว้เป็น Gateway ของระบบ และกำหนดค่าดังนี้

ไปที่ Menu NAC และคลิก Captive Portal


ทางผู้ดูแลระบบสามารถเลือกให้ใช้ การ authentication บน User RADIUS Server หรือจะสามารถเลือก add user เครื่องพร้อมค่า MAC address ได้เอง

คลิก pass-through MAC


เพื่อ add ค่า MAC address เครื่อง PC ที่อยู่ในวง LAN

หรือทำการ add user ใน menu users



คลิกที่ menu Allowed IP addresses




คลิกที่เพิ่ม ที่เครื่องหมาย + ใน Web ควบคุม


หรือจะระบุให้เครื่องที่ non- authentication ให้ทำการ scan ไวรัสคอมพิวเตอร์ก่อนถึงจะเข้าสู่ระบบเครือข่ายขององค์กรได้ ก็ตั้งเป็น Direction to …



เมื่อทำการ scan virus ผ่านแล้ว เครื่องปลอดจากไวรัส จึงสามารถเข้าใช้งานในองค์กรได้

หรือจะตั้งค่า Direction to เครื่องที่เป็น VA (Vulnerability Assessment) เพื่อตรวจสอบดูว่ายังขาด patch software และ OS เพื่อให้ update patch เสียก่อนก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ LAN ในองค์กร ก็จะทำให้เครื่อง Notebook หรือ PDA ระบบพกพาต่างๆ ปลอดภัยมากขึ้นเมื่อนำใช้กับ LAN ในองค์กร

นอกจากจะสามารถควบคุมการ Access เครื่องในองค์กรได้แล้ว ยังสามารถควบคุมการใช้งาน Wireless LAN หรือพวก Hotspot ได้อีกด้วย โดยใช้หลักการเดียวกันนั้นคือ

หากเครื่องที่ไม่ได้รับ อนุญาติ ก็จะทำการ Redirect ไปที่ URL ให้ลงทะเบียนได้



โดยเราสามารถระบุ content สำหรับ URL ที่ต้องการ Redirection ได้ ตามต้องการ



ทั้งหมดนี้ จะควบคุมเครื่องแปลกปลอม ที่เข้าสู่ระบบเครือข่าย LAN ในองค์กร ได้ หากเราควบคุมเครื่องแปลกปลอมได้ การแพร่ระบาดไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่ติดจากที่อื่น และนำแพร่เชื้อในองค์กรจะน้อยลง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็จะปลอดภัยมากขึ้น


นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman


ไม่มีความคิดเห็น: