Pages

วันอาทิตย์, มกราคม 7

Miss.Seenev Interview with SRAN Dev ตอนที่ 1


Miss.Seenev : สวัสดีค่ะ วันนี้มีโอกาสได้สัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่ม SRAN อยากทราบว่าทำไมต้อง SRAN และมีคำว่า Dev ด้วยค่ะ

Nontawattalk : สวัสดีครับ ก่อนอื่นขอเกริ่นนิดหน่อยนะครับ คำว่า "SRAN" ออกเสียงว่า สะ-ราญ เป็นการบังคับให้ออกเสียงเช่นนี้ เพราะว่าคนแต่ง ต้องการให้คล้องจองกับคำว่า สราญอารมณ์ หรือที่มีความหมายว่า สุขสนุก นั้นเองครับ SRAN เองเป็นคำย่อ คำเต็มชื่อว่า "Security Revolution Analysis Network" มีสัญญลักษณ์ เป็นแมวไทย ชื่อพันธ์วิเชียรมาศ ส่วนคำนิยามจากชื่อ ผู้แต่ง ต้องการให้เป็นการปฏิรูปใหม่ในวิเคราะห์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ ส่วนคำว่า Dev เป็นคำย่อ คำเต็มว่า Development ความหมายคือการพัฒนานั่นเอง SRAN Dev คือ กลุ่มคนที่พัฒนาระบบที่เรียกว่า การปฏิรูปใหม่ในการวิเคราะห์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ ครับ
Miss.Seenev : ทำไมต้องเป็นแมวค่ะ
Nontawattalk : เพราะแมว น่ารักดีครับ เป็นสัตว์ที่ผมเองก็ไม่เคยเลี้ยงนะครับ ไม่ทราบว่าทีมผมมีใครเลี้ยงบ้างก็ไม่ได้ถามเช่นกัน เหตุผลหลักๆที่เลือกแมว และต้องเป็นแมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยแท้ มีเอกลักษณ์ ที่มีแถบดำอยู่ 9 จุดในตัว และไม่ว่าสายพันธ์จะเป็นอย่างไร 9 จุดก็ยังคงเดิมในต่ำแหน่งเดิม มันน่าแปลกมากกครับ ส่วนเหตุผลอีกข้อที่ไม่เคยบอกที่ ใดมากก่อน สัญลักษณ์ ของ SRAN มาจาก สุนัขที่บ้านผมเอง ตัวเหมือนแมวมาก ซื่อสัตย์มากครับ
ส่วนแมววิเชียรมาศเองต่างประเทศรู้จักแมวชนิดนี้ในชื่อ Siamese นะครับ และก็ เป็นสัตว์ที่ต่างประเทศนิยมนำไปเลี้ยงมาก ทั้งที่ต้นตำรับมาจากเมืองไทยนี้เองครับ สรุปสั้นๆ ว่า เพราะมีเอกลักษณ์ประจำตัว และต่างประเทศรู้จักในทางที่ดี จึงเป็นเหตุผลในการเลือก แมว วิเชียรมาศ เป็นสัญลักษณ์ ต้องการอ่านเพิ่มเติมอ่านได้ที่ http://www.sran.org/index_html/logosran


Miss.Seenev : ช่วงต้น ขอถามคำถามแบบคนชังสงสัยหน่อยนะค๊ะ SRAN มีมานานหรือยังค่ะ และทำไมถึงคิดทำระบบนี้ขึ้นล่ะค๊ะ

Nontawattalk : ก่อนหน้ามี SRAN เราเคยทำกลุ่ม Siamhelp มาก่อนหากเปิด Internet ได้อ่านที่มาที่ไป blog ที่ชื่อว่า 8 ปี siamhelp จากวันนั้นถึงวันนี้ URL ว่า http://nontawattalk.blogspot.com/2006/12/8-siamhelp.html
จดทันไหมครับ : ) เป็น blog ผมเองฮะ ที่นำมาเสนอเพราะว่าตัวผมอยู่ตั้งแต่เริ่มต้น จนปัจจุบัน ครับ อันที่จริง เราทำงานกันเป็นทีมนะครับ
ส่วน SRAN มีมา 3 ปี ย่างปีที่ 4 เราเริ่มคิดค้น ระบบ SRAN ได้เมื่อปลายปี 2546 อยากดูภาพเก่าๆ ของเราดูได้ที่ http://blog.gbtech.co.th/gallery/main.php คลิกไปที่ ภาพอดีตก่อนมาเป็น SRAN
ที่คิดระบบนี้ขึ้น เนื่องจาก ช่วงที่เปิดบริษัท Global Technology Integrated ใหม่ๆ เราได้รับทำงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่าย (Vulnerability Assessment) และการทำทดสอบหาภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Penetration Test) รวมถึงการสืบค้นหาหลักฐานเพื่อหาผู้กระทำผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer/Network Forensic) รวมถึงการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินที่ไม่สามารถควบคุมได้ทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Incident Response) มาพอสมควร ทั้ง 4 กรณีตัวอย่างที่กล่าวไป เราทำได้ดี ปิดงานได้ทุกกรณี เมื่อเวลาผ่านไป เราคิดว่าสิ่งที่เราต้องใช้เทคโนโลยี ของต่างชาติหลายๆ ชนิดมาเพื่อทำงานเหล่านนี้ ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย จึงเป็นที่มาในการรวมคุณสมบัติเด่นแต่เทคโนโลยี มาไว้ในอุปกรณ์เดียว ทั้งการทำ NSM (Network Security Monitoring) เพื่อใช้ในการทำ Incident Response และ Forensics , การประยุกต์ระบบ IT Auditor มาใช้ในการทำ Pen-Test และ VA (Vulnerability Assessment) มารวมเข้าในเทคโนโลยีเดียวกัน จนเกิดเป็น SRAN และต่อจากนั้นเรานำ SRAN บรรจุบน Appliance ที่มีการปรับแต่ง OS และ Hardening ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน จนออกมาเป็น SRAN Product ในรุ่นต่างๆ ใน Web http://www.gbtech.co.th นี้แหละครับ ช่วงเวลาที่คิดได้ครั้งแรก เราค่อยข้างไปไกลกว่าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทั่วไป ในต่างประเทศครับ เพราะแนวคิดในการรวมศูนย์ด้านความปลอดภัยข้อมูล ที่ไม่ใช่ UTM (Unified Threat Management) นะครับ เป็นการเน้นในเรื่องรวมศูนย์แบบ NSM (Network Security Monitoring) มากกว่า ถือได้ว่าเราต้นตำหรับการทำ Network Security Collaboration เลยล่ะถ้าจะให้โม้สักหน่อยนะ ทุกวันนี้คำว่า Collaboration ก็เป็นที่นิยมไปแล้ว และตอนนั้นยังไม่มี ปัจจุบันมีเยอะเลยครับ นำมาขายในไทยก็เยอะมากเช่นกัน จุดประสงค์ของกลุ่ม SRAN ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ครับ
1. เผยแพร่ความรู้ด้าน IT Security ให้กับผู้สนใจ ผ่านทาง Web Site www.sran.org ตั้งเป็นชุมชน Online ครับ โดยที่ SRAN.org ก็มี website แบ่งเป็นหมวดดังนี้
1.1 www.sran.org ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอ บทวิเคราะห์ ในเชิงบทความวิชาการ รวมถึง ผลการทดลอง(LAB) ที่เกิดจากทีม SRAN Dev
1.2 infosec.sran.org เป็น web ข่าวสารด้าน IT Security บอกได้ว่าเป็น Web ที่ update ข่าวสารด้านนี้เร็วที่สุดในประเทศไทย และมีอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเสนอข่าวสารด้านระบบรักษาความปลอดภัย ช่องโหว่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก IT รวมถึงบทความต่างๆ ที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับคนทำงาน IT Security ในประเทศ เพราะเนื้อหา web เป็นภาษาไทยครับ
1.3 VirusDB.sran.org นิยาม web นี้คือ Malware collection เป็นการรวบรวมข่าวสารไวรัสคอมพิวเตอร์ , SCAM Web หรือ Web ที่มีเนื้อหาหลอกลวง การแนะนำให้ระวังภัยคุกคามที่อาจจะเกิดจากการใช้งาน internet ต่างกับ infosec ตรงที่ว่า web นี้เน้นข่าวสารที่เป็น malware มีสถิติ malware ทั่วโลก รวมถึง มี files สำหรับนักทดลอง ที่เป็นการจำลอง malware files เพื่อใช้ในงานวิจัย โดยทีมงานรวบรวมมาจากทั่วโลก ครับ
1.4. Hackdiary.sran.org
ประกอบไปด้วย
1.4.1 รวบรวมข้อมูลการ Web site ในประเทศไทยที่มีการโจมตีขึ้น โดยจัดในรูปสถิติ
1.4.2 รวบรวม Video การสาธิตเทคนิคการบุกรุกที่เป็นภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ดูแลระบบได้เกิดความตะหนักในการป้องกันภัยคุกคามดังกล่าว
1.4.3 แหล่งค้นหาข้อมูลการโจมตีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
1.4.4 จัดทำ Reality Hacking ในรูปแบบ Video (ข้อ1.4.2) และจัดแข่งขันเพื่อสร้างเป็นมหกรรม IT Security Congress ขึ้นในประเทศไทย
1.5 SRAN Freemail แจก e-mail ที่มีความปลอดภัย และมีความจุ 2 G ต่อ account บน domain @sran.org

2. เผยแพร่เทคโนโลยี ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ ที่จัดทำโดยคนไทย เพื่อออกตลาดโลก ให้ได้ครับ โดยที่เรานำเสนอมีดังนี้
SRAN Technology (www.sran.net) ศูนย์รวมเทคโนโลยี SRAN เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กลุ่ม SRAN ได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย
2.1 SRAN Anti virus : โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ เพื่อคนไทย
2.2 SRAN Web identity : เป็นการสร้างเทคโนโลยี การระบุผู้เยี่ยมชม web และพฤติกรรมในการเยี่ยมชม web โดยมีจุดเด่นในการตรวจจับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นใน website ได้ เรียกว่า เป็น Intrusion Detection Web System ที่เป็นการเก็บสถิติผู้เยี่ยมชม web แบบ Real Time โดยใช้ Ajex เทคโนโลยี
2.3 SRAN RSS : โปรแกรมบราวเซอร์ข่าวเกี่ยวกับ IT security
2.4 ข่าวสารบริษัท Global Technology Integrated และ กลุ่ม SRAN Dev (http://blog.gbtech.co.th)
ใน web นี้ประกอบด้วย
- ข่าวสารการพัฒนากลุ่ม SRAN
- ข่าวสารบริษัท รวมถึงการวางแผนในแต่ละไตรมาส ของปี
- ภาพอดีต จน ถึงปัจจุบัน ของกลุ่ม SRAN

ส่วนหนึ่งที่ยังไม่เคยไปไว้ที่ใด ก็มี

SRAN Podcast (http://podcast.sran.org) เป็นแนวคิดของเฮียตู่แห่ง Global Technology Integrated นี้แหละครับ เป็นการนำเทคโนโลยี Podcast มาประยุกต์ใช้ บริจาค Server จากคนอ้น หนึ่งสมาชิกพัฒนา SRAN และทีม Services บริษัท Global Technology Integrated ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเช่นกัน

เป็นเสียงเพื่อคนพิการทางสายตา เพื่อสร้างภูมิปัญญา ดั่งคำกล่าวที่ว่า “แสงสว่าง ในความมืด จากเสียงแห่งปัญญา (Wisdom Sightless)”
หลักการ : จากที่อ่านเพียงคนเดียว ก็แบ่งให้กับผู้ที่ไม่ได้อ่าน และผู้ที่อ่านไม่ได้ แบ่งปันภูมิปัญญาจากหนังสือที่ท่านรัก เพื่อถ่ายทอดเสียงให้กับผู้ได้รับฟัง SRAN Podcast เพื่อคนตาบอด ยังทำไม่เสร็จ และคิดว่าไม่รู้จะทำได้ต่อแค่ไหน อาจเหลือเพียงแนวความคิด หากท่านใดสนใจพัฒนาต่อ ก็โปรดแจ้งเจตจำนงค์มาหน่อยนะครับ ต้องบอกว่างานนี้ ฟรีครับ ไม่หวังผลตอบแทนทางการค้า

และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการและจุดยืนที่เราได้นำเสนอ เป็นสิ่งที่ได้เราทำไปแล้ว

และในปี 2550 เรามีแผนที่จะทำ ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยข้อมูลให้มากขึ้น ไม่ว่าเป็น
- การทำ LiveCD Penetration Test toolkits ใช้ชื่อว่า SRAN Tools Muay Thai ถือว่าเป็น Pen-test tools ที่เป็น LiveCD แห่งแรกของประเทศไทย
- การพัฒนาต่อของ SRAN Anti virus (Return)
- การพัฒนาต่อ SRAN Web identity เพื่อสร้างเป็น Web 2.0 ที่ทันสมัยขึ้น
- การสร้างฝันเป็นความจริง ของ The Reality Hacking Project ที่เป็นมหกรรมการแข่งขัน ศึกประลองความไวในการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมเองก็ไม่ได้นำเสนอ ออกมาเสียที นะครับ ทั้งที่ files การออกแบบทั้งหมดนี้อยู่ในเครื่องผมเรียบร้อยหมดแล้ว
และยังมีอีกหลายเรื่องเลยครับ ที่อยู่ในหัว แอบบอกไปบ้างแล้วใน http://nontawattalk.blogspot.com/2007/01/sran-technology.html
จะเห็นว่าเราทำเยอะมากเลยนะครับ เนี้ย ...

.. อ้าว คุณสีนวล หลับไปแล้วเหรอครับ งั้นพักกันสักครู่ ดีไหมครับ

Miss.Seenev : ... ขอโทษค่ะ ถามนิดเดียว ตอบยาวววเลย งั้นไว้ต่อช่วงหน้า พักดื่มน้ำ ปัสสาวะ ก่อนละกันค่ะ ไว้ช่วงหน้าอย่าพลาด สีนวลจะถามเจาะลึก ในคำถามที่คุณอยากรู้ จาก SRAN เจอกันค่ะ
Nontawattalk : : )

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman

ไม่มีความคิดเห็น: