Pages

วันศุกร์, มิถุนายน 22

Certification กับความงมงาย


ผมเคยสอบใบประกาศนียบัตร (Certification) ของ Cisco เมื่อ 5 ปีก่อนและได้รับในระดับ CCNA มาแล้ว ในระดับคะแนนที่สูงใช้ได้ พอเวลาผ่านไป ผมมีงานมากมายที่ต้องทำตลอด จึงไม่่ได้ปีกตัวเพื่อไปแสวงหาใบประกาศนียบัตรให้มากมาย , หลายปีผ่านมาผมเองไม่ได้สนใจ Certification ตามกระแสสังคมเลย กับละทิ้งและโยนทิ้ง CCNA ใบที่ควรค่านั้นทิ้งลงถังขยะ อย่างไม่คิดเสียดาย
(รูปจาก http://www.tga-gmbh.de/)

มาช่วงนี้เมื่อดูประกาศการจัดซื้อจัดจ้างและงานที่ต้องเฝ้าบำรุงรักษาระบบเครือข่ายตามองค์กรต่างๆ มักเขียนไว้ว่าต้องการคนที่มี Cert ฯ ครับเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้รับคนที่มาปฏิบัติงาน ที่รู้เรื่อง แต่ใบเหล่านี้ ส่วนตัวผมคิดว่ามันก็เป็น
เพียงสิ่งงมงาย
ที่ผ่านมา เห็นนักศึกษาใกล้จบ ต่างเรียงคิวเพื่อสอบใบประกาศนียบัตร เพื่อที่ได้งานทำที่ดี และเงินเดือนสูงๆ ไม่่แปลกอะไรหลอกครับ เพราะมันเป็นแฟชั่น เมื่อก่อนผมก็เป็นเช่นนั้น แต่มาถึงตอนนี้ มีความคิด ความอ่านที่มากขึ้น จึงมองเห็นว่า ทุกอย่างมันมีได้ และมีเสีย การมีใบประกาศนียบัตร เป็นสิ่งที่ดีในแง่ ได้ความรู้ จะดียิ่งขึ้นหากเราไม่ตกเป็นทาสกับใบที่เราสอบได้ นั่นเอง ข้อเสียก็คือเราก็เป็นเพียงผู้ใช้งาน กับมาตรฐานที่คนอื่นเขียนให้ เป็นเครื่องมือของการค้า การตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้านั่นไปเสียแล้ว

ผมมองว่าใบประกาศนียบัตร (Certification) เป็นเพียงใบเปิดทาง เป็นเพียง ผู้ใช้งาน (User) ตามแบนด์ของสินค้านั้นๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้หมายถึงจะเป็นผู้วิเศษ ในขณะที่ ใบประกาศนียบัตร (Certification) ทางระบบสารสนเทศเฉพาะทาง มี 2 แบบใหญ่ คือ
- ใบประกาศนียบัตร เฉพาะทาง ใช้กับสินค้า ได้แก่ Cisco , Microsoft , SUN , Redhat อื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น
- ใบประกาศนียบัตร เฉพาะทาง ไม่ได้ยึดติดกับเทคโนโลยี ของสินค้า ได้แก่ CISSP , CISA , GIAC และอื่นๆ
เมื่อมองดูชั้นในของใบประกาศนียบัตร เหล่านี้ ก็ไม่ต่างกับการ เครื่องหมายการค้า ที่เราพร้อมที่จะตกเป็นเหยื่อ เพื่อสำคัญตนเองว่า มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง

ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องนี้ก็เพราะ ผมไม่อยากให้คนไทยยึดที่ใบประกาศนียบัตรพวกนี้มากมายเกินไปนัก เสียเงิน เสียเวลา เพื่อทุนเท เกินไป มันฟุ่มเฟื่อย ยิ่งแบบที่ยึดติดกับสินค้า หรือเทคโนโลยี นั่นแล้วยิ่งอย่าไปยึดติดเลยครับ เพราะเมื่อไหร่ เวอร์ชั่นมีการเปลี่ยนแปลงเราก็ต้องไปสอบใหม่ เปลี่ยนเทคโนโลยี ก็ต้องไปสอบใหม่ เราก็ตกเป็นเครื่องมือของ ผู้นำเข้าสินค้านั่น ไม่ได้มีองค์ความรู้อย่างแท้จริง
เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างน่าเชื่อถือ หรือ ตกเป็นเหยื่อของ เทคโนโลยี จากผลิตภัณฑ์นั่นไปเสียแล้ว ดูจากเจตนาแล้วหลายค่าย พยายามสร้างความเชื่อนี้ ในสถาบันการศึกษาของประเทศไทย ปลูกฝั่งตั้งแต่เรียน จน เรียนจบคิดว่า ผลิตภัณฑ์นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องและดีที่สุด สำหรับเขา ตกเป็นทาสทางเทคโนโลยี โดยยินยอม

สิ่งที่อยากให้เป็น คือ เราควรนำความรู้ที่ได้จากการสอบใบประกาศนียบัตรเฉพาะทาง ตามมาตรฐานของฝรั่งเขา มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เสมือนหนึ่ง กระบี่อยู่ที่ใจ ที่ผมเน้นนักจะดีกว่า เชื่อผมหรือไม่ว่า คนทำ Router ได้รู้กลไกลการทำงานของ Router ทั้งหมดอาจไม่ได้ CCIE ก็ได้ แต่คนที่สอบได้ถึงระดับ CCIE คือ ผู้ใช้ อย่างชำนาญ อาจไม่สามารถที่จะสร้าง Router ได้เองได้เลย
ดังนั้นใบประกาศนียบัตร ที่ดี คือ ประสบการณ์จริงที่ได้ทำงานในด้านที่ตนเองถนัด อย่างชอบธรรม และนำความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ถ่ายทอด ให้ความรู้กับผู้อื่น และสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่มีประโยชน์กับสังคม คนผู้นั้นจึงน่ายกย่อง อย่างแท้จริง
หลายคนคงคิดว่าผมเป็นพวกแอนตี้สังคม ไม่่ทำตามกระแสสังคมนัก ก็เพราะผมเป็นพวกนักรบนอกสังเวียนนะสิ โดยจิตวิญญาณผมแล้วอยากให้สังคมที่เราอยู่ดีกว่าที่เป็นอยู่ มีความคิดที่หลายมิติขึ้น โดยเฉพาะมุมมองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 21

เลิกใช้ windows

ปกติในการเขียน blog ผมได้ใช้ระบบปฏิบัติการ windows ในการสร้างบทความมาโดยตลอด อาจมีการสลับการใช้งานระบบปฏิบัติไปบ้างในบางครั้ง โดยปกติเครื่อง notebook ส่วนตัวมี สองระบบปฏิบัติการ คือ boot linux สลับ Windows ตามอารมณ์ แต่มาตอนนี้ ผมประกาศเลิกใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows เครื่องนี้ปัจจุบันไม่มีระบบปฏิบัติที่เป็น Windows อยู่เลย


ก่อนหน้านี้ผมได้ประกาศเลิกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ทุกค่ายไปเรียบร้อยหมดแล้ว ใช้แต่ของที่พัฒนาเองคือ
SRAN Anti virus (พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ Open Source Clamav) เหตุผลที่เลิกใช้ ซอฟแวร์เหล่านี้ ทั้งที่เลิกยากพอๆกับติดเหล้า ติดบุหรี่เชียวล่ะครับ
เหตุที่เลิกใช้ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ Windows มี 2 เหตุผลหลัก

เหตุผลข้อแรก
หลังๆ ผมสังเกตเห็นพฤติกรรมความไม่ปกติ ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนตัว เมื่อเราใช้งานซอฟแวร์ที่มีการระบุ License เมื่อมีการอัพเดทข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ท เพียงแค่เกิดความสงสัยส่วนตัว ไม่ได้แอนตี้บริษัท Microsoft ไม่ได้แอนตี้บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแต่อย่างใด

เหตุผลข้อที่สอง ผมไม่อยากยึดติดกับข้อผูกมัดทางธุรกิจ และเพื่อไม่เป็นการแอบใช้ซอฟต์แวร์เถื่่อน ที่ถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ทางปัญญาผู้ผลิตเทคโนโลยีนั้น

ปัจจุบันผมได้ลงระบบปฏิบัติการ Ubantu เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาต่อจาก Debian Linux ่สามารถควบคุมซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้งานได้ พร้อม Source Code แก้ไขเองได้ ไม่ต้องระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ และเพื่อทำตัวเอง เป็นตัวอย่่าง ในการใช้งานอินเตอร์เน็ท แบบมีวินัย มีความตระหนัก (Awareness) และระมัดระวังแบบมีสติ โดยควบคุม พฤติกรรมการใช้งานก็เหมือนมีเกาะคุ้มกันภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เวลาใช้งานอินเตอร์เน็ทแล้ว


ขณะนี้เราตกเป็นทาสทางเทคโนโลยีไปแบบไม่รู้ตัวเสียแล้ว ปัจจุบัน ประเทศไทยสูญเสียเงินค่าลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์จำนวนมาก วิธีการหนึ่งที่จะลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้คือต้องสร้างคนให้หันมาใช้ระบบ ปฏิบัติการที่เป็น Open source และซอฟต์แวร์ Open Source กันมากขึ้น พร้อมทั้ง สร้างองค์ความรู้ในการต่อยอดจาก Open Source จากโค้ดที่ให้มานำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดต่อไป ทำให้เรามีภูมิต้านทานด้านเทคโนโลยีเองได้โดยปริยาย

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman