Pages

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 30

เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยข้อมูล ปี 2009

ภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2552 ก็คงไม่ต่างจากปี 2551 นัก แต่จะมีเทคนิคใหม่ เพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้น และการสื่อสารที่หลากหลายในช่องทางเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Personal Mobile Devices ที่ใช้มือถือเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต จะมีการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ในรูปแบบที่เรียกว่า Zombie หรือ “ผีดิบซอฟต์แวร์” จำนวนมาก ซึ่งในอนาคตผีดิบพวกนี้จะมาจากมือถือด้วย จึงทำให้จำนวนผีดิบที่มากขึ้นเรียกว่า Botnet เพื่อใช้ประโยชน์ในการโจมตีระบบเช่น DDoS/DoS ส่งผลให้เป้าหมายไม่สามารถปฏิบัติงานได้ หรือเพื่อส่งข้อมูลขยะอันไม่พึงประสงค์ (Spam) รวมถึงการหลอกลวงผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (Phishing) ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีมาที่ผู้ใช้งาน (End-user) โดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องมือ สิ่งเหล่านี้ป้องกันได้หากรู้เท่าทันภัยคุกคามดังกล่าว...โดยเริ่มต้นจากตัวเราเอง

เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยข้อมูล ปี 2009 มีดังนี้
1. เทคโนโลยี Two-Factor Authentication ปัจจุบันการระบุตัวตนในโลกอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใช้เพียง username และ password ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่มิจฉาชีพอาจขโมยข้อมูลและปลอมตัวเพื่อแสวงประโยชน์ได้ (Identity Threat) เทคโนโลยีนี้จึงมีแนวโน้มเข้ามาอุดช่องโหว่ ด้วยการใช้ Token หรือ Smart card ID เข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มปัจจัยในการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งมีความจำเป็นโดยเฉพาะกับการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และธุรกิจ E-Commerce

2. เทคโนโลยี Single Sign On (SSO) เข้าระบบต่างๆ ด้วยรายชื่อเดียว
โดยเชื่อมทุกแอพพลิเคชั่นเข้าด้วยกัน ซึ่งมีความจำเป็นมากในยุค Social Networking ช่วยให้เราไม่ต้องจำ username / password จำนวนมาก สำหรับอีเมล์, chat, web page รวมไปถึงการใช้บริการ WiFi/Bluetooth/WiMAX/3G/802.15.4 สำหรับผู้ให้บริการเป็นต้น

3. เทคโนโลยี Cloud Computing เมื่อมีการเก็บข้อมูลและใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากขึ้นตามการขยายตัวของระบบงานไอที ส่งผลให้เครื่องแม่ข่ายต้องประมวลผลการทำงานขนาดใหญ่ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงมีแนวคิดเทคโนโลยี Clustering เพื่อแชร์ทรัพยากรการประมวลผลที่ทำงานพร้อมกันหลายเครื่องได้ เมื่อนำแอพพลิเคชั่นมาใช้ร่วมกับเทคนิคนี้ รวมเรียกว่า Cloud Computing ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปราศจากข้อจำกัดทางกายภาพ เข้าสู่ยุคโลกเสมือนจริงทางคอมพิวเตอร์ (visualization) เทคโนโลยีนี้ยังช่วยลดทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green IT) ได้เช่นกัน

4. เทคโนโลยี Information security Compliance law
โลกไอทีเจริญเติบโตไม่หยุดนิ่ง ด้วยมาตรฐานที่หลากหลาย โดยเฉพาะในด้านระบบความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ จึงมีแนวโน้มจัดมาตรฐานเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับความปลอดภัยข้อมูลในองค์กร โดยตัวเทคโนโลยีส่วนนี้จะนำ Log ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานมาจัดเปรียบเทียบตามมาตราฐานต่างๆ เช่น ISO27001 มาตราฐานสำหรับความปลอดภัยในองค์กร , PCI / DSS สำหรับการทำธุรกรรมการเงิน, HIPAA สำหรับธุรกิจโรงพยาบาล หรือในเมืองไทยที่มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขึ้น โดยมีการตั้งหลักเกณฑ์การเก็บบันทึกข้อมูลจราจรขึ้น ทั้งหมดก็เพื่อต้องสืบหาผู้กระทำความผิดได้สะดวกขึ้น และหากทุกหน่วยงานให้สำคัญเรื่อง Compliance ความปลอดภัยจะเกิดขึ้นทั้งผมให้บริการและผู้ใช้บริการ

5. เทคโนโลยี Wi-Fi Mesh Connection
การใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายที่แพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งต้องเชื่อมโยงผ่าน Access Point นั้น สามารถเชื่อมต่อแบบ Mesh (ตาข่าย) เพื่อเข้าถึงโลกออนไลน์ได้สะดวกขึ้น ผู้ให้บริการ Wi-Fi จึงมีแนวโน้มใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บบันทึกการใช้งานผู้ใช้ (Accounting Billing) และนำระบบ NIDS (Network Intrusion Detection System) มาใช้ เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกหลากรูปแบบ เช่น การดักข้อมูล, การ crack ค่า wireless เพื่อเข้าถึงระบบ หรือปลอมตัวเป็นบุคคลอื่นโดยมิชอบ เป็นต้น

6. เทคโนโลยีป้องกันทางเกตเวย์แบบรวมศูนย์ (Unified Threat Management)
ถึงแม้เทคโนโลยีตัวนี้จะมีการใช้อย่างแพร่หลายแล้ว แต่ก็ยังต้องกล่าวถึงเนื่องจากธุรกิจในอนาคตที่มีบริษัท SME มากขึ้น และถือได้ว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรวมการป้องกันเป็น Firewall / Gatewayมีเทคโนโลยีป้องกันข้อมูลขยะ (Spam) การโจมตีของ Malware/virus/worm รวมถึงการใช้งานเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสม (Content filtering) รวมอยู่ในอุปกรณ์เดียว ที่ผ่านมาอุปกรณ์นี้มักมีปัญหาเรื่อง Performance หากเปิดใช้งานระบบป้องกันพร้อมๆกัน ซึ่งในอนาคต Performance ของอุปกรณ์นี้จะดีขึ้น

7. เทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึก (Network Forensics) การกลายพันธุ์ของ Virus/worm computer ทำให้ยากแก่การตรวจจับด้วยเทคนิคเดิม รวมถึงพนักงานในองค์กรมีทักษะใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ทักษะที่มีในทางที่ไม่เหมาะสม หรือเรียกได้ว่าเป็น “Insider hacker” จำเป็นอย่างมากสำหรับการมีเทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึก เพื่อตรวจจับสิ่งผิดปกติที่อาจขึ้นได้ ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อใช้ในการพิสูจน์หาหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินคดีความได้

8. เทคโนโลยี Load Balancing Switch สำหรับ Core Network เพื่อใช้ในการป้องกันการสูญหายของข้อมูล (Data loss) โดยเฉพาะในอนาคตความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายจะมากขึ้น อุปกรณ์นี้จะช่วยให้กระจายโหลดเพื่อไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ได้ เช่น Network Firewall หรือ Network Security Monitoring และอื่นๆ โดยที่ข้อมูลไม่หลุดและสูญหาย

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman
27 / 11 / 51

ไม่มีความคิดเห็น: