Pages

วันศุกร์, เมษายน 22

ที่ไหนเน็ตเร็วบ้าง กับ Checkspeed.me


"ที่ไหนเน็ตเร็วบ้าง"

เป็นคำถามที่ทำให้เกิดเป็นผลงานชิ้นใหม่ของทีมพัฒนา SRAN ที่ชื่อว่า "Check Speed Me" เว็บไซต์ http://checkspeed.me
ซึ่งเป็น Project ต่อเนื่องจาก CheckIP Me (http://checkip.me ตรวจสอบตนเองก่อนทำการเล่นอินเทอร์เน็ต)

1. ที่มา
จากที่ได้ทำการทดสอบอินเทอร์เน็ตในหลายๆเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ พบ 3 ประเด็นที่ ทีมงาน SRAN Dev คิดอยากทำระบบตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speed Test) แบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิม คือ

1.1 พบว่าในหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speed Test) ยังไม่ตอบสนองในเรื่องการระบุตำแหน่งที่ตั้งของการทดสอบความเร็วได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่

1.2 ซอฟต์แวร์ หรือ สคิปต์ (Script) ที่หลายเว็บไซต์ในประเทศไทยนำมาใช้ในการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speed Test) เป็นของต่างประเทศทำเสียส่วนใหญ่ใช้ของ ookla net metrics เกือบทั้งหมดที่ให้บริการในประเทศ

1.3 เมื่อพบว่า ซอฟต์แวร์ หรือ สคิปต์ ที่ใช้ทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speed Test) มักนำเสนอด้วย Flash ดังนั้นหากใช้สมาร์ทโฟนบางยี่ห้อไม่สามารถรองรับการทดสอบความเร็วได้

ทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าวมาจึงเป็นที่มาของทีมพัฒนา SRAN จึงได้จัดทำ Check Speed Me ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าว และที่สำคัญเมืองไทยเราจะได้มีซอฟต์แวร์ หรือ สคิปต์ ที่เป็นของคนไทยทำมาใช้กับงานในการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speed Test) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้บริการในการทดสอบความเร็วต่อไป

2. วัตถุประสงค์ ของการพัฒนา
2.1 มีความต้องการที่จะระบุตำแหน่งและพิกัด ของผู้ทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้อย่างอัตโนมัติให้มากที่สุด คลาดเคลื่อนจากตำแหน่งผู้ทดสอบความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยไม่ต้องพึ่งระบบ GPS

2.2 จัดทำสถิติเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ใช้งานที่ต้องการทดสอบความเร็วให้สามารถตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต ในสถานที่ต่างๆได้ อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

2.3 ทำระบบให้สามารถระบุค่าตำแหน่ง ค่าไอพี ค่าระบบปฏิบัติการ และค่าบราวเซอร์ เพื่อเป็นการจัดทำสถิติอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้องมากขึ้น

2.4 รองรับระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบความเร็วได้เข้าถึงผู้ใช้งานมากขึ้น

2.5 สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ต้องการทำสอบความเร็วเน็ตของเครือข่ายตนเอง ก็สามารถดูประวัติการทดสอบและตำแหน่งพิกัดได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งออกเป็นรายงานผลอันแม่นยำมากขึ้น

3. วิธีใช้งาน
การใช้งาน Check Speed Me สามารถทำได้ 2 ทางคือ
- ผ่านเว็บไซต์ http://checkspeed.me
- ผ่าน Facebook Application http://apps.facebook.com/checkspeed

ซึ่งทั้งคู่มีการใช้งานเหมือนกัน เมื่อเข้าใช้บริการ Check Speed Me
3.1 ข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

- หากใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ (PC) หรือ โน็ตบุ๊ค (Notebook) ควรใช้บราวเซอร์ (Browser) ที่ทันสมัย เช่น
  • Microsoft Internet Explorer 9.0 and up
  • Mozilla Firefox 3.5 and up
  • Apple Safari 5.0 and up
  • Google Chrome 5.0 and up
  • Opera 10.6 and up
  • iPhone 3.0 and up
  • Android 2.0 and up

ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วบราวเซอร์จะให้ผู้ใช้งานอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาในการใช้บริการ Check Speed Me สำหรับใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปทดสอบ

ในคอมพิวเตอร์ควรทำการ Allow location เมื่อบราวเซอร์ (Browser) จากคอมพิวเตอร์ หรือ จากมือถือ ได้ถาม เพราะส่วนนี้จะทำให้ทราบตำแหน่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงของผู้ใช้งานมาก ที่สุด คลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากตำแหน่งผู้ใช้งาน

- หากใช้สมาร์ทโฟน / Tablet นั้นสามารถใช้บริการนี้ต้องเปิด Location Services ที่ชนิดบราวเซอร์ (Browser) ไว้ก็สามารถใช้งานได้ทันที



เมื่อได้เปิดเข้าเว็บไซต์ http://checkspeed.me จะเห็นว่าบราวเซอร์ถามให้คลิกเพื่อแชร์ตำแหน่ง ให้ผู้ใช้งานคลิก Share Location


การทดสอบความเร็วกดปุ่ม Click here! ระบบจะทำการ Loading เพื่อตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต

3.2 เมนูและการใช้งาน

เมนูใน Check Speed Me ประกอบด้วย
- Top Speed จัดเรียงสถิติผู้ให้บริการรายใดที่ทำการทดสอบความเร็วแล้วมีค่า Bandwidth สูงที่สุด
(786 x 512)


ภาพแสดงผลสถิติในเมนู Top Speed จากภาพเป็นผลการเก็บสถิตเริ่มต้นในวันที่ 22 เมษายน 2554

- Organization จัดเรียงค่าเฉลี่ย Bandwidth ตามรายชื่อหน่วยงาน / ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
การวัดค่าความเร็ว Bandwidth ในส่วนนี้จะเกิดจากการวัดจากค่าเฉลี่ย จากจำนวนครั้งที่ทดสอบโดยทำการเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย


ภาพแสดงผลสถิติในเมนู Organization จากภาพเป็นผลการเก็บสถิตเริ่มต้นในวันที่ 22 เมษายน 2554

- Location คือจัดทำสถิตการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต ตามที่อยู่ของผู้ที่ทำการทดสอบ ซึ่งส่วนนี้จะทำให้เราทราบว่า ตำแหน่ง / ที่อยู่ / สถานที่ ใดที่มีความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุด ซึ่งค่าการจัดสถิติที่ได้นั้นเป็นค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ โดยทำการเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย


ภาพแสดงผลสถิติในเมนู Location จากภาพเป็นผลการเก็บสถิตเริ่มต้นในวันที่ 22 เมษายน 2554

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็ถือว่าเป็นอีกผลงานหนึ่งที่ทีมพัฒนา SRAN ความตั้งใจและภูมิใจนำเสนอ
ช่วงนี้จึงอยากขอความร่วมมือ พี่น้องในสังคมออนไลน์ (Facebook Check Speed ME) ลองช่วยกันทดสอบกันหน่อย เพื่อว่าจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้นต่อไป

นนทวรรธนะ สาระมาน
ขอบคุณครับ

Link ผลงาน SRAN พัฒนา ที่ได้จัดทำในรูปแบบ Web-base Application

SRAN Data Safehouse : http://safehouse.sran.net
SRAN Lookup : http://www.sran.org
Check IP Me : http://checkip.me
Protect your Link : http://sran.it
olo Mission invisible : http://olo.im

วันศุกร์, เมษายน 1

ปฏิบัติการล่องหนกับไอแอมโอโล่ (I'm olo)


"ท่องเน็ตไม่ต้องกลัวใครจับได้"

SRAN Technology ทำเอามันส์ อีกแล้วครับท่าน อันนี้ทำขึ้นเพื่อตอบสนองนักซ่อนตัวทางอินเทอร์เน็ต

โดยเฉพาะคนคิดและคนที่ทำ จากทีมพัฒนา SRAN หรือเรียกสั้นๆว่า SRAN Dev หลังจากเขาทั้งสอง มีเวลาว่างมากขึ้น เลยมานั่งครุ่นคิดถึงเทคนิคและวิธีการเพื่อใช้ในการอำพรางตนเองให้ปราศจากการติดตามตัวบนโลกอินเทอร์เน็ตขึ้น เรียกแบบหนังดาม่า ว่า "ปฏิบัติการล่องหน (Mission Invisible)" ขึ้นมาโดยใช้ชื่อเครื่องมือนี้ว่า "I 'm olo (ไอแอม โอโล่)" เริ่มสนุกกันแล้วล่ะ ดังนั้นมาดูว่า ไอแอมโอโล่เกิดขึ้นได้อย่างไร

"ไอแอมโอโล่ I 'm olo เกิดขึ้นมาจากความคิดที่แตกต่าง"

ความแตกต่าง นั้นคือ
หลายคนมีปัญหาว่าจะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นได้อย่างไร จะหนี Web master (ผู้ดูแลเว็บไซต์) จากค่า Log ที่ปรากฏขึ้นบน Web Server ได้อย่างไร ไม่ให้เขาตามฉันเจอ จะหนีอย่างไร จะหลบซ่อนตัวอย่างไรบนโลกอินเทอร์เน็ต นั้นแหละคือที่มาของไอแอม โอโล่ (I'm olo) หากแต่ทีม SRAN Dev พกความไม่ธรรมดามาด้วยจึง เกิดการประยุกต์และดัดแปลงให้ดูแตกต่างจากทั่วไปเสียหน่อย ดังนี้

ไอแอม โอโล่ (I'm olo) จะเป็นการผสมผสานระหว่าง Proxy Server ที่ต่อเชื่อมกันอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตให้ผ่านช่องทางเดียวกล่าวคือให้ ไอแอม โอโล่ (I'm olo) เป็นตัวติดต่อสื่อสารให้ ผ่านช่อง Web proxy แทนด้วยเหตุว่าจะทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ในเครื่อง และทำการสุ่มค่า (Random IP Address) ทุกครั้งเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร โดยค่า IP Address ที่สุ่มขึ้นมานั้นจะเกิดจาก Proxy server ที่กระจายอยู่ทั่วโลก เมื่อทำการติดต่อสื่อสารกับ Proxy Server ได้แล้วจะมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย ให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นอกมั่นใจ ว่าไร้การดักข้อมูลของเราผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อ Proxy Server ตัวใดไม่สามารถทำงานได้ปกติ ไอแอม โอโล่ (I'm olo) ก็จะทำการค้นหา Proxy Server ตัวใหม่เพื่อให้เราติดต่อสื่อปลายทางได้อย่างอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ I 'm olo (ไอแอมโอโล่)
1. ไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติมนอกจากมี โปรแกรม Web Browser
2. ไม่ต้องลง Plugin ใดๆจาก Web Browser สามารถทำงานได้ทันที
3. รองรับกับ Web Browser ทุกชนิด ไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ ไม่ว่าจะผ่าน smart phone หรือ จากคอมพิวเตอร์
4. รองรับทุกระบบปฏิบัติ ไม่ว่าจะใช้ Linux , window หรือ MAC OS ก็สามารถใช้ I'm olo ได้
5. ไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครสืบหา Log ที่ปรากฏได้เพราะ I'm olo จะมีการเปลี่ยนค่า IP ตลอดเวลา
6. ซ่อน IP Address จริงของฉันได้ ตาม concept เล่นอินเทอร์เน็ตแบบล่องหน Mission invisible
7. ทำการเข้ารหัส URI เพื่อป้องกันการตรวจสอบ
8. สามารถทำเป็น short URL ผ่าน Web proxy ได้ทำให้ ชื่อ URL ที่ส่งให้เพื่อนปลอดภัยและสั้นลง จดจำได้อย่างสะดวก
9. ทุกการติดต่อสื่อสารผ่าน I'm olo นั้นจะมีการเข้ารหัส (Encryption) เพื่อป้องกันการดักข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตทุกครั้ง

ลักษณะการทำงานของ โอโล่ (olo)
ภาพที่ 1 คือการทำงานของ ไอแอม โอโล่ (I'm olo) ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด เพียงแค่คุณคลิกเข้าเว็บ http://olo.im แล้วเปิดเว็บที่คุณต้องการ มันจะทำการซ่อนตัวให้คุณเอง จากแผนภาพจะพบว่า ไอแอม โอโล่ (I'm olo) จะสร้าง IP Address ใหม่ทุกครั้ง ตรวจสอบได้เมื่อคุณลองคลิก checkip.me จะพบว่า IP Address เราได้เปลี่ยนไปแล้ว

ขั้นตอน
- ทำการเปิดเข้าเว็บ http://olo.im จะสังเกตเห็นดังนี้


ภาพที่ 2 จะเห็นว่าเมื่อเข้าใช้งานไอแอมโอโล่ ในหน้าเพจแรก จะมีการแจ้งบอกค่า IP Address ที่แท้จริงของเรา รวมทั้งบอกสถานที่อยู่ที่เราได้รับค่า IP Address จริงนั้น จากนั้นหากต้องการเปลี่ยนค่า IP Address และทำการตรวจสอบว่าเปลี่ยนได้จริง ให้พิมพ์ที่ช่องกรอกข้อมูลว่า checkip.me

ขั้นตอนที่ 2 ทำการตรวจสอบ IP Address ใหม่


ดังที่ภาพที่ 3 เมื่อทำการตรวจสอบ IP Address เครื่องตนเองพบว่าได้ย้าย IP Address ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไปเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่คลิกเดียว

ขั้นตอนพิสูจน์ว่าจะมีการเปลี่ยน IP Address แบบสุ่มหรือไม่ ทำการตรวจสอบอีกครั้งโดยเข้าไปที่ Checkip.me ซึ่งอาจต้องรอสัก 5-10 นาที แล้วทำการตรวจสอบ IP Address ใหม่อีกครั้ง



ภาพที่ 4 ลองตรวจสอบค่า IP Address อีกครั้งโดยคลิก checkip.me ผลปรากฏว่า IP Address ย้ายจากสหรัฐอเมริกา ไปที่ประเทศอังกฤษ แล้ว ทั้งที่ IP Address แท้จริงเราอยู่เมืองไทย

แค่นี้ไม่ต้องลงโปรแกรมก็ทำให้คุณเปลี่ยนค่า IP Address ได้ตลอด ซึ่งมีผลทำให้การตามตัวตนที่แท้จริงนั้นจะทำลำบากขึ้นมากในทางเทคนิค
อย่างงี้ต้องลองพิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง โดยเข้าไปที่ http://olo.im

นอกจากนี้ใน I 'm olo ยังมีการแสดงข้อมูลค่า Proxy ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาแสดงผลแบบ Real - Time คือมีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งทำการเก็บบันทึกค่า Proxy ที่เรียกว่า Proxy Archive ให้สามารถสืบหา IP Address ของ proxy ที่เคยเปิดให้บริการได้อีกด้วย



ภาพที่ 5 คือการค้นหา Proxy Archive สำหรับเคยเป็น Proxy server ที่ตั้งในประเทศไทย

ไอแอม โอโล่ (I'm olo) กับ ปฏิบัติการล่องหน
เปิดทำการแล้ว ทุกวัน ทุกเวลา ที่ http://olo.im หากท่านใช้งานแล้วช้า อืด ไม่ทันใจ ขออภัย เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนทดสอบเพื่อใช้งานจริง ให้ถือเสียว่า ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม หรือ ช้า แต่ ชัวล์ เป็นต้น

ขอให้ทุกท่านมีความสุขเมื่อได้ใช้ งานไอแอม โอโล่ (I'm olo) : )
สวัสดี



นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman