Pages

วันพุธ, สิงหาคม 24

บรรยายให้สำนักงานศาลยุติธรรม


ทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้ให้โอกาสตัวผมได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง "รูปแบบการกระทำความผิด การสืบสวนและพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางศาลยุติธรรมให้โอกาสบรรยายในครั้งนี้ งานนี้จัดขึ้น วันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2554 ที่โรงแรม แกรนด์แปซิฟิก ซอฟเฟอรีน รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งส่วนที่ผมบรรยายจะเป็นช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 บรรยายเป็นไปด้วยท่านผู้พิพากษาที่ให้ความสนใจในส่วนที่บรรยาย ก็ต้องกล่าวขอขอบคุณมาใน ณ ที่นี้ด้วยครับ

นนทวรรธนะ สาระมาน

วันศุกร์, สิงหาคม 19

บรรยายการสืบหาร่องรอยการกระทำความผิดทางไซเบอร์ให้สำนักงานศาลยุติธรรม

 

บรรยายการสืบหาร่องรอยการกระทำความผิดทางไซเบอร์ให้สำนักงานศาลยุติธรรม

ทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้ให้โอกาสตัวผมได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “รูปแบบการกระทำความผิด การสืบสวนและพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางศาลยุติธรรมให้โอกาสบรรยายในครั้งนี้ งานนี้จัดขึ้น วันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2554 ที่โรงแรม แกรนด์แปซิฟิก ซอฟเฟอรีน รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งส่วนที่ผมบรรยายจะเป็นช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 บรรยายเป็นไปด้วยท่านผู้พิพากษาที่ให้ความสนใจในส่วนที่บรรยาย ก็ต้องกล่าวขอขอบคุณมาใน ณ ที่นี้ด้วยครับ

วันอาทิตย์, สิงหาคม 14

Wi-Ride บนเส้นทางไร้สาย

ในต่างประเทศในยุคหนึ่งนิยมการทำ wardriving กันมาก wardriving เป็นกิจกรรมของนักเจาะระบบ (hacker) ที่นิยมงัดแงะ แคะรหัสผ่านที่มีการเข้ารหัสไว้เฉพาะกลุ่มคนที่มีสิทธิเข้าใช้งาน หรืออาจจะโชคดีหน่อยที่พบสัญญาณ Wi-Fi ที่พบไม่มีการเข้ารหัสเสียเลยก็สบายแฮ แต่หากพบว่าประเภท แสบเจอแสบล่ะยุ่งเหมือนกัน ประเภทที่ว่า เปิดให้ Wi-Fi ใช้ฟรี แต่ขอดักข้อมูลเสียสักหน่อย เจอประเภทนี้เราจะรู้ตัวได้อย่างไรกัน ? เป็นคำถามที่หลายๆ คนก็อย่างจะรู้และเตรียมรับพร้อมเพื่อรับมือกับมันอยู่ไม่น้อย
ก่อนที่จะหาวิธีป้องกัน ผมจึงเตรียมพร้อมด้วยการท่องเทียว + ซอฟต์แวร์ที่ประยุกต์พัฒนาขึ้นเอาเอง เพื่อเก็บสถิติและเก็บข้อมูล

ผมจึงตั้งเป็น Project เล็กๆ ที่ถือได้ว่าเป็นงานอดิเรกส่วนตัวผมก็ได้ ชื่อ "Wi-Ride" ย่อมาจาจ Wi-Fi Ride ขี่วายไฟร์ ด้วยเครื่องมือระบุตัวตน SRAN เพราะเรามาดี ไม่ได้มา hack เราจึงไม่ขอใช่คำว่า "wardriving" เพราะเรามีหลักการ ที่เราทำขึ้นก็เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ตามจุดต่างๆ สิ่งที่บันทึกลงในระบบซึ่งแสดงผลใน www.sran.net/internet นั้นคือสถิติของจำนวน Access point ตามรายชื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และย่านที่มีความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงที่ผมได้จัดประเภทขึ้นนั้นมี 3 ระดับคือ
- Access point (Hotspot) ที่ไม่มีความเสี่ยง (ปกติ)
- Access point (Hostspot) ที่มีความเสี่ยง ที่ไม่ได้รหัสในการเข้าใช้บริการ
- Access point (Hostspot) ที่มีความเสี่ยงสูง เป็น Access point ปลอมใช้เพื่อดักข้อมูล หรือที่เรียกว่า Rogue access point

เมื่อระบุความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว ซอฟต์แวร์ที่เราเขียนขึ้นไว้พร้อมแล้ว เราก็เริ่มออกเดินทางได้


โปรแกรมค้นหา wi-fi hotspot ที่เราถนัด ส่วนตัวผมใช้ Wifi-where บน iphone บางก็ใช้ kismet ที่ modify โดย wigle บน tablet android (Galaxy tab)

ส่ิงที่กระทำต่อไปคือเปิดเว็บไซต์ http://checkspeed.me เพื่อทดสอบความเร็วเน็ต หากพบ Free Wifi หรือที่ไหนใจบุญเปิดให้คนนอกใช้เน็ตฟรี (Free Internet) ต้องเรียนว่าโปรแจค checkspeed.me นั้นเราทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของเราเอง .. ทำกันเองโดยใช้เทคนิคใหม่ที่ได้มาคือ geolocation ผ่าน HTML5 ซึ่งทำให้เราระบุตำแหน่ง / พิกัด ที่เราอยู่ได้โดยไม่ต้องผ่าน GPS และ Cell site แต่ถึงอย่างไรเทคนิคนี้ต้องผ่านอินเทอร์เน็ต ..



เส้นทางจริงที่ผมได้สำรวจขึ้นเนื่องจากต้องเดินทางเส้นทางนี้บ่อยกว่าทุกเส้น นั้นคือ ถนนมิตรภาพ ทางไปภาคอีสานบ้านของเฮา นั้นเอง การเดินทางของผม ก็ได้เริ่มต้นขึ้นจากถนนเส้นนี้เอง ผลลัพธ์ที่ปรากฏขึ้นเป็นภาพของการส่งข้อมูลไปยังระบบ SRAN Wi-Ride ประมวลผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย และเครื่องมือสำรวจของเราก็คืออุปกรณ์มือถือและ Tablet ที่ไปไหนก็ไปด้วย (เหมือนคนเป็นโรคติดเน็ต)

ภาพจาก www.sran.net/internet
จุดที่ได้ถูกพอตลงในแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เกิดจากการสุ่มสำรวจและขับรถผ่านจะพบว่าเส้นทางในกรุงเทพฯมีการเปิดให้บริการ Internet Wireless (Wi-Fi) จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีฟรี และโดยมากมาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ผมเขียน blog อยู่นี้ข้อมูลที่เราสำรวจมานั้นพบว่า
True Internet มีจำนวน Access Point ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 1525 จุด ซึ่งถือว่าเป็นอันดับ 1 (การสำรวจนี้เกิดขึ้นจากการขับรถและจากแหล่งข้อมูลอื่นเช่น wigle , wefi และ gwifi เป็นต้น มิได้เป็นข้อมูลทั้งหมดที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเป็นผู้ให้บริการแก่สมาชิกแต่อย่างใด)
รองลงมาเป็น 3BB Broadband Internet ที่กำลังมาแรง จำนวน Access Point ที่ค้นพบจากการเดินทางนั้นถึง 692 จุด
รายละเอียดสถิติตัวเลขต่างๆ สามารถดูที่ http://www.sran.net/internet


เท่าที่สำรวจมาพบว่ามีโอกาสไม่น้อยเลยที่อาจจะมีการหลอกลวงโดยตั้งค่า SSID ให้ตรงกับผู้ให้บริการเพื่อหลอกเหยื่อมาติดกับดัก หรือที่เรียกภาษาทางเทคนิคว่า "Rogue Access point" ที่กล่าวในขั้นต้น ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดผู้เสียหายขึ้นจำนวนมากในอนาคต ซึ่งหากเรามีระบบแจ้งเตือนและเก็บประวัติข้อมูลเหล่านี้ไว้เสียหน่อยก็น่าจะทำให้สังคมออนไลน์ของเรามีความปลอดภัยมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นที่ต้องขอเตือนภัยในอนาคตสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะ นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่นี้ มีเรื่อง Free Internet Wi-Fi ทั่วประเทศแล้ว จะพบว่าโอกาสที่จะมีการใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะการที่ไม่ได้วางแผนเรื่องการระบุตัวตนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และการเก็บบันทึกข้อมูลจราจร (Log) ขึ้น

ดังนั้นผู้ใช้งานแบบตรงไปตรงมา หรือผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่คิดจะคดโกงและทำร้ายทำลายใครในโลกอินเทอร์เน็ตเขาจะป้องกันภัยเหล่านี้ได้อย่างไร ส่วนหนึ่งที่เราเห็นคุณค่าแล้วก็คือการหยิบสถิติที่เราค้นพบขึ้นนี้มานำเสนอให้กับสังคมรับรู้ และจะเป็นกระบอกเสียงหนึ่งผ่านเว็บไซต์ www.sran.net ที่ช่วยเป็นหูเป็นตาสำหรับเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้เป็นเครื่องมือก่อให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้อีกทาง

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman

วันอังคาร, สิงหาคม 2

SRAN Comics | Information Security for Kids


SRAN Comics เกิดจากความคิดที่ว่า "ความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลควรเริ่มจากตนเองเสียก่อน" จึงเป็นที่มาให้มีการสร้างสื่อที่เข้าใจและเข้าถึงได้แก่ผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

เนื่องด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นและ เป็นผลให้ข้อมูลทั้งดีและไม่ดี ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์รวมถึงการใช้งานนั้นเข้าถึงเด็กและเยาวชนมาก ขึ้น ซึ่งจะพบว่าเด็กและเยาวชนในประเทศไทยนั้นยังขาดสื่อที่นำเสนอถึงความเข้าใจ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศอยู่ทางทีมงาน SRAN จึงร่วมกันคิดจนก่อให้เกิดเป็น SRAN Comics ขึ้นเมื่อเดือนกรกฏาคม 2553 ในรูปแบบการ์ตูนนำเสนอในเว็บไซต์ www.sran.org อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งและหยุดลงเนื่องจากขาดผู้สนับสนุนและทีมปฏิบัติงานใน การนำเสนอ

จากนั้นไม่นานหลังจากที่ได้หยุดนำเสนอลงในเว็บไซต์ www.sran.org ก็ได้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ในแวดวงการให้มีการกลับมาทำอีกครั้ง

Picture 6จนเมื่อเดือนมกราคม 2554 จึงได้มีการปรับปรุง SRAN Comics ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ว่าเราควรมีสื่อที่เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ สร้างความเข้าใจแรกให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดภูมิปัญญา และมีความตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ พร้อมทั้งการความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการใช้งาน ด้วยการ์ตูนที่นำเสนอนั้นมีสีสัน ลายเส้นที่สดใส มีชีวิตชีวาเหมาะสำหรับการสื่อให้เด็กได้เข้าใจถึงพิษภัยต่างๆในการใช้ อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ SRAN Comics

1. ต้องการสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามทางด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ในรูปแบบของสื่อที่เข้าใจง่าย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เรียกว่า "Information Security for Kids"

2. สร้างเสริมประสบการณ์ให้สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ให้เกิดความตระหนักรู้ทันถึงภัยคุกคามในโลกออนไลน์ (Information Security Awareness)

3. จัดทำเป็นชุดการ์ตูนโดยมีเนื้อเรื่องที่สื่อสารเข้าใจได้ง่าย เป็นตอนสั้นๆ ที่สื่อถึงการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์


เว็บไซต์ SRAN Comics ที่ http://comic.sran.org

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman