Pages

วันเสาร์, ธันวาคม 14

บรรยาย Cyber Insurance ให้กับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

วันที่ 14 ธันวาคม 2562 นายนนทวัต์ สาระมาน ได้มาบรรยาย Cyber Insurance และ Security Awareness ให้กับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้ความรู้ด้าน Cybersecurity กับพนักงาน คปภ. ที่โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา

วันพุธ, พฤศจิกายน 6

รับรางวัลผู้ใช้ซอฟต์แวร์ไทย Digital Entrepreneur Awards

 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานประกาศรางวัลผู้ใช้ซอฟต์แวร์ไทย ATSI Digital Entrepreneur Awards ซึ่งเป็นเวทีสำหรับองค์กรที่กล้าเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย ในงาน OIIO Thailand Techland 2019 จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับลูกค้าที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไทย องค์กรที่ได้รับรางวัล ประกอบด้วย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้รับรางวัลชนะเลิศ กลุ่มองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยเลือกใช้ระบบ SRAN NetApprove รุ่น NG200
บริษัท เจเอสเอสอาร์ อ๊อกชั่น จำกัด ได้รับใบประกาศเกียรติคุณการใช้ซอฟต์แวร์ไทย โดยเลือกใช้ระบบ SRAN NetApprove รุ่น NG100 และรุ่น NG50

  1. บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) ได้รับใบประกาศ เกียรติคุณการใช้ซอฟต์แวร์ไทย

โดยเลือกใช้ระบบ SRAN Log Module LM50

วันศุกร์, กันยายน 27

โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับธุรกิจดิจิทัล (Cyber Security for Online Business)

 โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับธุรกิจดิจิทัล (Cyber Security for Online Business)

คุณนนทวัตน์ สาระมาน เป็นวิทยากรบรรยายในโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ โดยเนื้อหาหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาและเติมเต็มศักยภาพบุคลากรระดับปฏิบัติการ, หัวหน้างานของสถานประกอบการด้านความมั่นคงสารสนเทศให้มีความเชี่ยวชาญและสมรรถนะ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในภาพรวมของประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทุกวัน ศุกร์ – เสาร์
(27 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2562)
ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม









วันเสาร์, กันยายน 7

Ecosystem ในภาคอุตสาหกรรมของโลกกำลังเปลี่ยน

Ecosystem ในภาคอุตสาหกรรมของโลกกำลังเปลี่ยน
ปีหน้าจะเห็นว่าเกือบทุกอย่างที่เราเห็นในรอบ 10 ปี จะเปลี่ยนโฉม ไม่ต่างกับยุคสมัยที่เรามีไฟฟ้าใช้ใหม่ ที่ไฟฟ้าเข้ามาเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


"ยุคที่เราอยู่นี้ใกล้เคียงกับยุคที่เปลี่ยนจากไม่มีไฟฟ้าเป็นมีไฟฟ้า"

แค่เปลี่ยนไฟฟ้า เป็นคำว่า Platform ที่มีทั้ง Big Data และ AI เป็นตัวเปลี่ยนโฉม

เราจะอยู่รอดได้อย่างไร นี้คือคำถาม ?
การอยู่รอดของเรา ต้องเข้าใจถึง Ecosystem ใหม่
Ecosystem ใหม่ จะต้องพิจารณา 3 ส่วน
ส่วนที่เป็น คน
ส่วนที่เป็น เทคโนโลยี
ส่วนที่เป็น เศรษฐกิจ

ปัจจุบันทุกอุตสาหกรรม ต้องมีเทคโนโลยีและดิจิทัลมาเกี่ยวข้อง ต้องมีข้อมูลมาเกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นอยู่ไม่ได้
หากจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อสร้าง Ecosystem เองขึ้นมา ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับเฉพาะกลุ่มที่เข้าใจคุณเท่านั้น

** เฉพาะตอนนี้เรามากล่าวเพียงเรื่องเทคโนโลยี



เกมส์เปลี่ยนเพราะ Network TCP/IP ไปเป็น Cloud เชื่อมต่อกันเป็น Infrastructure ซึ่งเหล่านี้อยู่ในประเทศไทยน้อยมาก ถึงน้อยที่สุด คำถามทำไมอยู่ที่เราน้อยมาก?
เพราะเราไม่มี Platform ที่มีการใช้งาานในชีวิตประจำวัน

ฉะนั้นหากเทียบเพื่อให้เห็นภาพขึ้น
ในยุคที่เริ่มมีการผลิตไฟฟ้า เทียบกันไปกับระบบใหม่
ศูนย์กลางการผลิตส่วนใหญ่อยู่ใน Local คืออยู่ในประเทศ
แม้ยุคที่ Internet มา ศูนย์กลางก็ยังอยู่ในประเทศ Local คืออยู่ที่ ISP

เมื่อ Internet เชื่อมสรรพสิ่ง หรือ IoT ศูนย์กลางจะเปลี่ยน
ไปอยู่ที่ Cloud ซึ่งตอนนี้แหละ ! ที่ไปอยู่ต่างประเทศแล้ว

ส่วนสำคัญ Ecosystem ใหม่เกิด นั้นคือ "ข้อมูล"

ข้อมูลถูกวิ่งผ่าน Internet และข้อมูลถูกกระจายผ่าน Cloud และ Cloud ก็เป็น Data Center ขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วย OS, Hardware, Server, Software โดยทำงานต่อเนื่อง รวมเรียกว่า Infrastructure และหากมี application ที่ on บนนี้ก็รวมเรียก platform ตามมา

และส่วนใหญ่ Platform ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเราทุกคน ล้วนแต่ประมวลผลและมี Infrastructure อยู่ต่างประเทศ

ทั้งที่ประเทศเรามี Infrastructure มี Data Center ที่มีมาตรฐาน ทำไมยังสามารถเข้าถึง Ecosystem ใหม่ได้

เป็นเพราะเราไม่มี platform ที่มีผลต่อชีวิตประจำวัน
แล้วทำไมเราไม่มี platform ทั้งที่เราส่งเสริม Startup และพัฒนา Application กันเกือบทุกหน่วยงาน

คำตอบคือ ระบบที่อยู่หลังบ้าน และหลัง Data Center ไปอีกนั้น ที่มีการเชื่อมโยงโปรแกรมและ ระบบ Network
โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลในรูปแบบที่สร้างและกำหนดขึ้นเองนั้นแหละที่เราขาด

ขาดที่สุดคือ ขาดคนที่เข้าใจจุดที่ระบบหลังบ้าน Data Center เพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์ บริหารจัดการ ข้อมูล ให้พร้อมใช้งาน ส่วนนี้มีน้อยเกินไปในการขับเคลื่อน

ลองถามทีม Dev โปรแกรมสิ ว่าเขาพัฒนาบน Data Center ในไทยหรือไม่ ? ส่วนใหญ่ ตอบว่า พัฒนาบน aws, azure, google, digitalocean, Line เป็นต้น ทำให้เราไปเพิ่มความฉลาดให้ Platform ที่มาพร้อม Infrastructure ในต่างแดนเสียหมด จนล้ำหน้าเป็น AI กลับมาหาเราและดึงเราไปสู่ Ecosystem ในเวทีเขานั้นเอง

*แล้วเราจะเป็นเพียงแรงงานราคาถูก ที่เป็นเพียงคนส่งของ รับของเท่านั้นเมื่อระบบมาครบแบบสมบูรณ์แบบ

การสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้คุยภาษาเดียวกันได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทุกคนต้องช่วยกัน เพื่อให้อยู่รอดใน Ecosystem ใหม่ที่กล่าวมา

ปล. อันนี้ยังไม่พูดคน กับ เศรษฐกิจ
หลายคน เป็นห่วงเรื่อง หนี้ จาก Future เป็นอันมาก น่าจะใกล้ ceiling ล่ะ

ส่วนเรื่อง คน ที่เข้าสู่อีกยุคหนึ่ง ที่ up skill ไม่ทัน คนสูงอายุมากกว่าวัยแรงงาน

ดันมาพร้อมๆ กัน เลยสนุกล่ะทีนี้

Nontawatt Saraman



เขียนขยายจาก
http://nontawattalk.sran.org/2019/06/big-data.html
และ
http://nontawattalk.sran.org/2019/07/digital-balance.html

วันพุธ, สิงหาคม 28

มายาเทค

มายาเทค กับประเทศไทย
"เศรษฐกิจถดถอย อุปทานหมู่ ที่เป็นจริง"
เหตุเพราะ เราเล่นกับ Future มากเกินไป

ในศาสนาพุธ กล่าวไว้ว่า “ให้ดำเนินชีวิตโดยอยู่กับปัจจุบัน” แต่หลายครั้งที่เรา ก็จะแย้งว่า ชีวิตเราต้องมีอนาคต และทุกคนที่มีลมหายใจอยู่ ก็ต้องการอนาคตที่ดีขึ้น
ด้วยเหตุปัจจัยที่กระตุ้นกิเลสของเราเอง ทำให้การรู้เท่าทันสถานะการณ์รอบข้างได้น้อยลง

"เราเล่นกับ Future มากเกินไป" ในส่วนประกอบของเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่ ผมขอหยิบยกตัวอย่างสักเรื่อง อันได้แก่
ธุรกิจ e-Commerce เรากำลังเผชิญ "มายาเทค" ที่มาเป็น platform ข้ามชาติ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเป็นอยู่ เจ้าใหญ่ที่มาฆ่ารายเล็กรายน้อย ที่ปรับตัวไม่ทันและทุนไม่ถึง ทำลายโครงสร้าง การตลาด ระบบขนส่ง และอื่นๆ ชนิดที่ทุกคนต้องถอยเพราะไม่สามารถเห็นสภาพขาดทุนแบบนั้น นานๆ ได้
เจ้าใหญ่ที่ active อยู่คือ Lazada และ Shopee ยังไม่พบคำว่ากำไรมากว่า 3 ปี ล่าสุดปี 2018 ขาดทุนกว่า 4 พันล้านบาท รวมแต่เปิดมาเกือบหมื่นล้าน ซึ่งไม่แปลก ที่ต่างธุรกิจก็ต้องมีจุด ROI
ซึ่งชุดความคิดนี้ ถึงมีความเสี่ยงผู้เล่นในไทยก็ยอมสู้ เป็นทีมงานขั้นเทพก็ว่าได้แต่สู้ข้ามชาติไม่ได้ตรง ทุนที่หนาจ่ายแบบไม่อั้น ก็ต้องยอมกลุ่มจีน (Alibaba) จนในตลาดปัจจุบันของ e-Commerce ไทยมี active หลักเพียงแค่นี้ ยังไม่มีใครได้กำไรจากงานนี้ยกเว้น พวกที่ทำโลจีสติก อย่างเช่น Kerry เป็นต้น ที่กำไรงามและมีทีท่าว่าจะแซงรายใหญ่ในไทยเสียด้วย


E-commerce platform ขาดทุนเยอะขนาดนั้นทำไมยังคงทำธุรกิจต่อ ?
คำตอบคือ อยู่เพราะอนาคต
อีกทั้งจำนวนผู้ใช้งานกินประชากรมากขึ้น มีโอกาสคืนทุนได้ในไม่ช้า บริษัทโตขึ้น เงินหมุนเวียนจากบริษัทแม่ และธนาคาร เพื่อพยุงให้ทำธุรกิจต้องเดินต่อได้ .... (แบกกันต่อไปนะ Startup)

ด้วยการเล่น Future เกินไป ทำให้ Supply Chain ในประเทศไทย ทึ่ยังปรับตัวไม่ทัน จึงกระทบไปด้วย
และเมื่อแบกและเข็นกันไปไม่ไหว ก็ต้องหาทางลงแบบไม่เข้าเนื้อใคร (สร้างสกุลเงินใหม่มาล้างเลยไหม)

ไม่ต่างกับธุรกิจ Entertainment ก็เล่น Future เกินไป โดยเฉพาะธุรกิจ streaming online มาลักษณะเดียวกันคือ เป็น Platform ข้ามชาติ สะดวก ใช้งานไม่สะดุด เบื้องหลัง Infra ขนาดใหญ่ มิได้เพียงเสกขึ้นมาฟรี ทุกอย่างย่อมลงทุน และเป็นการลงทุนไม่น้อย ก็เป็นเช่น e-Commerce คือขาดทุนตลอด เพื่อต้องการได้มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และมาทำลาย Supply Chain ในประเทศ ที่ยังปรับตัวไม่ทัน

คำถามเมื่อไหร่ ธุรกิจเหล่านี้จะคืนทุน (ROI) ?
และเป็นเช่นนี้ Platform ข้ามชาติ เข้ามาให้คนติด ทำลาย Supply chain ที่หาเลี้ยงชีพเล็กๆน้อยๆ ของคนในชาติไป

และทั้งนี้ ยังไม่ร่วมกันกับ ธุรกิจอื่น ที่ใช้ นวัตกรรมเศรษฐกิจ ผ่าน platform เช่น อสังหาริมทรัพย์, รถยนต์ และการขนส่ง, การศึกษา พลังงาน การเงินและกลุ่ม Startup ที่ลงทุนกันเยอะเกินมูลค่า ซึ่งหากวิเคราะห์ให้ดี มีน้อยนักที่กำไร ส่วนใหญ่ "เล่นกับ Future เกินไป"

ด้วยเหตุนี้ย่อมกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจเรา ซึ่งมาในรูป "มายาเทค" นี้เอง

การก่อตัวของ "มายาเทค" ประกอบด้วย
(1) รูปแบบ platform ข้ามชาติ ที่มาพร้อมเทคโนโลยี มี Cloud Infra มี app ที่เข้าถึงง่าย พร้อมทำ Big data ต่อยอดเป็น AI ได้ -->
(2) ปั้มเงินจากนอกประเทศแบบไม่อั้นเพื่อเข้าแทนที่ระบบเดิม -->
(3) คนใช้งานแล้วติด จนต้องใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน -->
(4) ทำลายโครงสร้าง เดิมบนห่วงโซ่ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทัน เข้าแทนที่ อุปสงค์ อุปทาน ที่อ่อนแอ ของคนในชาติ

รวม (1) ถึง (4) ขอนิยามส่วนตัวว่า "มายาเทค"
และมายาเทคนี้แหละ ที่เราภาคภูมิใจหนักหนา กลัวตกยุคดิจิทัลกัน ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่เราใช้อยู่เป็นเพียงเปลือก มิใช่แก่น

ภาพ สรุปปรากฎการ์ณมายาเทค 

ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจ มันเกิดขึ้นในขั้นตอนที่ (2) ปั้มเงินออกมาไม่อั้น นี้แหละ ที่เรียกว่า เล่นกับ Future เกินไป ต่างชาติที่ลงเงินอยู่ได้ แต่โครงสร้างการค้าขายในชาติไทยจะออกอาการเสียมากกว่าได้และโทษเศรษฐกิจแย่ ตามระเบียบ

เงินที่ปั้มขึ้นมาเพื่อพยุงธุรกิจ platform ข้ามชาติ(จีน และอเมริกา) นี้แหละ มีผลกระทบกันและกันผลพ่วงจากสิ่งนี้ย่อมเกิดกับสิ่งนี้
เป็นไปตามกฎปฏิจจสมุปบาท ที่อุปมาอุปไมยดังว่า

"สรรพสิ่งยืมตัวเองมาจากการมีอยู่ของสิ่งอื่น เช่นเดียวกันกับ ในทะเลมีสายฝน ในหยาดฝนมีทะเลกว้าง ละอองไอในก้อนเมฆ แท้จริงแล้วคือท้องทะเลที่กำลังเดินทาง เมื่อเราเห็นฝนก็คือเห็นทะเล เห็นทะเลก็คือเห็นฝน" (จากการบรรยาย เรื่องสุญญตา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล 2549)

ฉันใด เมื่อก้อนเมฆคือหนี้สินก้อนโต ไม่นานต้องเทเป็นฝนลงสู่ท้องทะเลเป็นแน่แท้ และด้วย
ทุกอย่างเชื่อมและกระทบซึ่งกันและกัน เป็น "butterfly effect" แน่นอนกระทบไปหมด (รวมทั้งฮ่องกงก็เป็นได้ : P)

เงินที่ปั้มออกเพื่อสร้าง Platform ข้ามชาติ ต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดสุดถนนวิทยุ(เปรียบเทียบ) เพื่อรองรับ Big data และ AI ที่เราชื่นชมกัน

เงินที่ปั้มออกเพื่อพยุงธุรกิจให้ eyeball จำนวนมากเพียงเพื่อให้ app ติดตลาด เมื่อคนติด app จะได้ข้อมูล Big data และพฤติกรรมบริโภคจากเราไปทั้งสิ้น

เพราะตัวเราเอง....ที่เล่นกับ Future มากเกินไป

"มันเป็นเพียง มายาเทค ไม่ต้องตามให้ทันทั้งหมดเราก็อยู่ได้ (จริงไหม)


โปรดอยู่กับปัจจุบัน และรู้เท่าทัน ทุกอย่างมีทางออก
ด้วยความหวังดี

Nontawatt S
20/08/62

วันอังคาร, สิงหาคม 27

Network Log มีความสำคัญอย่างไร

Network Log มีความสำคัญอย่างไร ?

เมื่อพูดถึง Log files หลายคนคงเข้าใจว่าต้องนำ Log จากเครื่องแม่ข่าย (Server) เพื่อโยนเข้ามาเก็บส่วนกลาง ผ่านเทคโนโลยี Centralized Log management ไม่ว่าเป็น Log ที่เกิดจากระบบ System ในเครื่อง หรือ Log ที่เกิดจาก Application
(Log files คือการเก็บบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้น)

ยกตัวอย่าง หากในองค์กรหนึ่งมีการตั้ง AD Server (Active Directory) เพื่อเป็น AAAและA
Authentication คือ การระบุตัวตน เพื่อใช้ยืนยันตัวตน ของผู้ใช้งานภายในองค์กร เช่น การ Login เข้าระบบเครือข่าย Login เพื่อยืนยันตัวตนในการเข้าถึงระบบงาน ยืนยันและระบุตัวตนสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

Authorization คือ การกำหนดสิทธิในการเข้าถึง Application เข้าถึงระบบ เข้าถึงไฟล์ และเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น

Accounting คือ รายชื่อผู้ใช้งานที่มีการสร้างขึ้นจากผู้ดูแลระบบ ส่วนใหญ่เป็นรายชื่อพนักงานในองค์กร

และ A ตัวสุดท้ายคือ Auditing เป็นการตรวจสอบ Log ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็น Log ที่เกิดจาก Authentication, Authorization และ Accounting ของเครื่อง Active Directory Server นี้แหละ

และยังมี Application Log ที่สำคัญ อื่นๆ ที่นิยมนำมาเก็บ บน Log Management ก็เช่น Log Web Server, Log Mail Server, Log DHCP/DNS Server, Log จาก Files Sharing, Log ระบบที่สร้างขึ้นจากแอพลิเคชั่นในองค์กร เช่นระบบ ERP ระบบบัญชี เป็นต้น ซึ่งหากเก็บหมดนี้ก็ถือใช้พื้นที่ในการเก็บจำนวนมาก และหากเก็บหมดได้ นี้แหละคือ Big data ที่ทุกองค์กรมีอยู่ใกล้ตัวที่สุด เป็นข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งรัฐบาลจากทำ Big data แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไง อยากให้มาดูในส่วนนี้จะเริ่มต้นได้ (สำหรับหน่วยงานที่ไม่มีข้อสาธารณะจำนวนมากและต่อเนื่อง)


Big data ส่วนนี้มิใช่ข้อมูลที่แสดงต่อสาธารณะ แต่มีประโยชน์ต่อหน่วยงานมาก ช่วยให้รอดพ้นจากภัยไซเบอร์ได้ อันเนื่องมาจากการมองเห็น และรู้เท่าทันขึ้น จาก Log files

Log มาจากเครื่อง ส่งมาเก็บจะพบปัญหาได้หากเกิดความผิดพลาดในระบบเช่นไวรัสลงที่เครื่องแม่ข่าย (Server) ที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง AD Server, Files sharing server, และ Web Server การส่ง Log มาเก็บที่ Centralized Log management อาจจะมีความผิดพลาด เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ บางชนิดอาจทำลาย Log ลบ Log ทำให้ไม่มี Log ส่งมาเก็บที่ส่วนกลาง ไม่สามารถหา ร่องรอยการโจมตีได้


ภาพ Log ที่เกิดจาก RDP ที่เกิดจาก Network Log เป็น GUI จาก SRAN LT 50 Hybrid

Log ที่มาจาก Network นั้นสำคัญ ?
หากเกิดกรณีดังกล่าว เช่นไวรัสเข้าไปลบ Log ในเครื่อง Server เราจะทำอย่างไร
ผมจึงจะขอเวลาเขียนบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจ ดังนี้

Log Network ประกอบด้วย
1) Log ที่มาจากอุปกรณ์ Network เช่น Log Firewall, Log Router, Log Switch หลายองค์กรทำการส่ง Log เฉพาะ Log Firewall เพื่อ เข้า Centralized Log management เพราะตัวอื่นๆ จะมีปริมาณข้อมูลเยอะและมีเหตุการณ์ที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นหากติดตั้ง Firewall แบบถูกวิธี Log Firewall ถือว่าเป็นประโยชน์มาก
แต่ด้วยว่า Firewall มีหลายระดับ ระดับที่ราคาแพง (หลักแสนขึ้นถึงหลักหลายล้าน) จะมีครบ

ส่วน Firewall ทั่วไป อย่างน้อยจะเห็น Log ที่ได้จะเห็น การสื่อสาร ต้นทาง (IP Source/ Source Port) และ ปลายทาง (IP Destination/ Destination Port) และ Protocol สถานะการเชื่อมต่อ

Firewall ที่เป็นระดับ Application Firewall ก็จะเพิ่มเติมการมองเห็น Application ที่ใช้งาน Bandwidth ที่ใช้งาน เช่น มองเห็น Protocol ที่สำคัญ เช่น HTTP, SMTP, DNS, DHCP, FTP, SSH เป็นต้น ซึ่งหากรู้จัก และ Application ที่สื่อสารบน Protocol เหล่านี้ เช่น Skyp, Facebook, Line, Gmail เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเห็นข้อความ เนื้อ content ผู้ส่งและผู้รับได้ เห็นเพียงรู้ว่าใช้ Application อะไร Bandwidth เท่าไหร่ ลักษณะการสื่อสารเท่านั้น

Firewall ในระดับ NextGen ก็จะป้องกันภัยคุกคามที่มาทางระบบเครือข่าย และ Application ได้ด้วย
แต่ทั้งนี้ Log ที่มาจาก Firewall ส่งมาเก็บ ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์ เพราะไม่สามารถมองเห็น Log Network ภายในองค์กรได้

Log Network ที่เกิดขึ้นในองค์กร การแชร์ไฟล์ map drive, Log ที่มากับกล้องวงจรปิด CCTV ที่ติดภายในอาคาร Log ที่เกิดจากการควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม, Log ที่เกิดจากแพร่ไวรัสภายในเครือข่าย LAN เป้นต้น

การที่ Firewall จะมองเห็นได้ทั้งหมดเป็นไปไม่ได้

ดังนั้นแบบที่ 2 ที่จะกล่าวถึงคือการสำเนาข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า Mirror traffic จึงเกิดขึ้น สำหรับผมชอบวิธีนี้ที่สุดเพราะผลกระทบน้อยและ Log ที่ได้รับมามีประโยชน์ ไม่สามารถถูกแก้ไขจากไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ เห็นอย่างไร บอกอย่างนั้น ตามที่เคยกล่าวว่า "Log files ไม่เคยโกหกเรา"

2) Log Network ที่ได้จากการสำเนาข้อมูล
(Mirror traffic)
หากระบบเครือข่ายในองค์กรของเรามีขนาดใหญ่ อาจมีการแบ่งโซนระบบเครือข่ายออกเป็น โซนสำหรับเครื่องแม่ข่ายสำคัญ โซนผู้ใช้งานภายในองค์กร โซน WiFi โซนตามแผนกงาน เป็นต้น ก็ทำการสำเนาข้อมูลแต่ละส่วนมาเพื่อเก็บบันทึกเป็น Log Network ได้
ด้วยวิธีนี้ มีหลายโปรแกรมที่มองเห็นและแกะ Protocol ที่สำคัญ เช่น
Log AD ที่เกิดจาก Kerberos สำหรับใช้ Active Directory จะได้ใกล้เคียงกับ Log ที่เก็บในเครื่อง AD Server สามารถมองเห็นทาง Network ได้เช่นกัน

Log Web Server มีความใกล้เคียง access.log หรือเทียบเท่ากัน จากที่มาจากเครื่องแม่ข่าย
Log Files share ที่ผ่าน Protocol Netbios และ SMB ก็เห็นเช่นเดียวกัน ใกล้เคียงจาก Log จากเครื่องแม่ข่ายส่งมา

Log Remote ไม่ว่าเป็น Remote Desktop, VPN, SSH, FTP ก็มองเห็น และใกล้เคียงกับ Log ที่มาจากเครื่องแม่ข่ายส่งมา ซึ่งไวรัสตัวใหม่ ที่พึ่งเกิดขึ้นก็ใช้ช่องโหว่ของ RDP โดยส่วนใหญ่แล้วหาได้น้อยมากที่ใครจะโยน Log RDP มาเก็บ ส่วนใหญ่จะได้จาก Network Log นี้แหละหากไม่มี Network Log อย่าหวังว่าจะได้ข้อมูลและลักษณะการติดต่อสื่อสาร


ภาพLog RDP เมื่อจัดทำสถิติ ผ่าน command line ที่มองเห็นผ่าน Network Log เช่นกัน

Log การระบุตัวตน ที่เกิดจาก Radius Protocol ก็มองเห็น และใกล้เคียงกับ Log ที่มาจากเครื่องแม่ข่ายส่งมา

ดังนั้นแบบที่ 2 ประหยัดงบกว่าแน่ และได้สิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับผู้ดูแลระบบเครือข่าย

ผมจึงอยากจะเขียนไว้เพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งทั้งหมดที่เขียนมาล้วนมาจากประสบการณ์ทั้งสิ้น

"Log files ไม่เคยโกหกเรา"














Nontawatt Saraman

27/08/62

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 18

Digital balance ความสมดุลด้านดิจิทัล

ความสมดุล ระหว่าง คน เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ  Digital balance
"คนตกงาน เพราะเทคโนโลยีมาแทน"

"เศรษฐกิจไม่ดี เพราะเทคโนโลยี เปลี่ยน"

"คนปรับตัวไม่ทันจากธุรกิจบนโลกใหม่"

ด้วยวงล้อดิจิทัลแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยลืมปรับความสมดุล
ระหว่าง คน และ เทคโนโลยีนั้น จะทำให้เกิดช่องว่าง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งที่เป็นทางตรงและทางอ้อม

เรามักจะภาคภูมิใจอยู่เสมอ หากคิดค้นนวัตกรรมจากเทคโนโลยีใหม่ที่ล้ำ อาทิเช่น เทคโนโลยี ที่ได้จาก Cloud computing, Quantum, Big Data, Blockchain, IoT autonomous และ AI จนทุกอย่างอาจมองข้ามคน ที่เป็นพื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตั้งแต่รากหญ้า ผู้จ้างงาน คนชั้นกลาง มนุษย์เงินเดือน จนถึงเจ้าสัว อันเป็นกลไกกระจายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งคนเหล่านั้นอาจเป็นรุ่นญาติผู้ใหญ่ของเราที่ไม่สามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตัวละครใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี เกิดขึ้นเป็นระยะๆ เช่น decentralized, 5G และ Libra และอื่นๆ ต่อจากนี้ ทำให้โลกไร้พรมแดน จนราวกับว่า จะมองข้ามประเทศไปเสียแล้ว กฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้น Compliance เดินตามหลังเทคโนโลยีเสมอ

คนที่ไร้ความหมายบนโลกใหม่ ก็ถูกหุ่นยนต์ และ algorithm AI แทนที้เขาและเธอ (คน)

การตีโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แบบมองไม่ทะลุ ทำให้คนตกงานต่อ ...ส่งผลกับเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

นักคิด นักสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ ไม่คำนึงถึงพื้นฐานจิตใจมนุษย์ นั้นยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนและ automation ให้ห่างออกไป

ห่วงโซ่ของธุรกิจที่ขาดการสังเกต ทิศทางของโลกแห่งเทคโนโลยีนั้นจะทำให้เสียโอกาส และ สูญเสียอธิปไตยทางข้อมูล Data Sovereignty ได้เสมอ อาทิ เช่น Application แอพหน้าเด็ก แอพหน้าแก่ และสื่อสังคมออนไลน์ กล้องวิเคราะห์ใบหน้า เป็นต้น ที่ล้วนแล้วนำข้อมูลของเราไปพัฒนาเพิ่มความฉลาด algorithm AI ที่อื่น (นอกประเทศเรา)


ความสดุล ระหว่าง คน เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ต้องเดินไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชาติ
win-win situation จะเกิดขึ้นหากเรามีกรอบความคิดที่เข้าใจกับสภาวะที่เป็นจริง

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการ หารือกันในกรรมการสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT

ด้วยความเป็นห่วง
Nontawatt S
15/07/62

วันพุธ, มิถุนายน 12

CIPAT ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลกับ ICDL

 วันที่ 12 มิถุนายน 2562 คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล ระหว่าง ICDL Thailand และ ภาคีเครือข่าย 8 สมาคม ซึ่งมีสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT เข้าร่วมด้วย โดยงานนี้ คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้แสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาบุคลากรด้าน IT security ในระดับบุคคลทั่วไปที่ต้องการ Re-skill และ Up-skill เพื่อตอบสนองกับตลาดการจ้างงานด้านนี้อีกด้วย ซึ่งเป็นการรวมพลังภาคเอกชน ตามนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ โดยร่วมกันทำให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยต่อไป

 

 

 

ภาพถ่ายรวมในงาน

 

 

 

 

 

คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล

 วันที่ 12 มิถุนายน 2562 คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล ระหว่าง ICDL Thailand และ ภาคีเครือข่าย 8 สมาคม ซึ่งมีสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT เข้าร่วมด้วย โดยงานนี้ คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้แสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาบุคลากรด้าน IT security ในระดับบุคคลทั่วไปที่ต้องการ Re-skill และ Up-skill เพื่อตอบสนองกับตลาดการจ้างงานด้านนี้อีกด้วย ซึ่งเป็นการรวมพลังภาคเอกชน ตามนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ โดยร่วมกันทำให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยต่อไป

วันอังคาร, มิถุนายน 11

ได้รับเชิญบรรยายให้กับสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ในหลักสูตร วทร. รุ่น 51

 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 คุณนนทวัตน์ สาระมาน ผู้บริหารบริษัท โกลบอลเทคโนโลยีฯ ได้รับเชิญบรรยายให้กับสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ในหลักสูตร วทร. รุ่น 51 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ หัวข้อในการบรรยายคือ “เรียนรู้และเข้าใจถึง สงครามไซเบอร์ ในยุคปัจจุบัน”

ระยะเวลาบรรยาย 8:45 – 12:00 โดยมีผู้เข้าฟังการบรรยายจำนวน 144 คน ประกอบด้วย ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ บ.การบินกรุงเทพ บ.ปตท บ.วิทยุการบิน กรมประมง กรมเจ้าท่า และ สำนักอัยการ

รวมทั้งทหารเรือ จำนวน 2 นาย จากประเทศมาเลเซีย และพม่า








วันจันทร์, มิถุนายน 10

ได้รับเกียรติเชิญบรรยายเนื้อหาความปลอดภัยข้อมูลบนระบบ IoT ในหัวข้อ “Cybersecurity

 คุณนนทวัตน์ สาระมาน ผู้บริหารบริษัท โกลบอลเทคโนโลยีฯ ได้รับเกียรติเชิญบรรยายเนื้อหาความปลอดภัยข้อมูลบนระบบ IoT ในหัวข้อ “Cybersecurity มองโลก มองไทย เพื่อการรู้เท่าทัน” โดยมีตัวแทนจาก สวทชฺ.,Microsoft, IBM, Huawei, PTT Digital Solution และ อื่นๆ มาร่วมฟังบรรยายในงาน

จัดโดยสมาคมไทยไอโอที ขอขอบพระคุณท่านนายกสมาคมฯ พี่กำพล ประธานจัดงาน และ ผู้เชิญผมมา
พี่สมชาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิตอลโฟกัสตัวแทนขายกล้อง CCTV และระบบ Smart building แนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้ดูแลในงานนี้







วันเสาร์, มิถุนายน 1

Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย เพราะอะไร ?

Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย เพราะอะไร ?”
ผมถือว่าโชคดีที่เป็นเด็ก ผมทำงานกับทีมงานอายุไม่มาก กับคนหนุ่มสาวที่มีไฟ (แก้ไขปัญหาเก่ง) จึงทำให้เราได้เรียนรู้อะไรได้ตลอด. ถึงแม้ผมมักจะเป็นหัวหน้าทีม … แต่เวลาทำงาน เราก็ทำเป็นเด็ก คือทุกขั้นตอนการทำงานเรามีส่วนร่วมหมด
เราเรียนรู้และแก้ไขปัญหาการรองรับข้อมูลขนาดใหญ่มานานแล้ว. …..เพราะขายอุปกรณ์และระบบที่ทำหน้าที่เก็บ Log files และวิเคราะห์ข้อมูล ในแบนด์ชื่อ “SRAN”
SRAN นิยมใช้กันในประเทศไทยพอสมควรเมื่อ 10 ปีก่อน
เราสร้าง SRAN มากับมือ. ทั้งเทคโนโลยีที่มาใช้ และ การติดตั้ง มันลงตัวมาก (เมื่อ 15 ปีอัพ)
SRAN รองรับข้อมูลเราผ่านระบบเครือข่ายทั้งในรูปแบบของการ Mirror Traffic. จากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ รูปแบบ syslog server มาเข้าเครื่อง (Appliance) ที่ทำซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะ Protocol, Application ที่จำเป็นต้องใช้วิเคราะห์ถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการใช้งานข้อมูล. แต่ทุกอย่างรันบนเครื่องเพียงเครื่องเดียว … ซึ่งมีข้อจำกัดการรับข้อมูลขนาดใหญ่ จะได้เฉพาะหน่วยงานขนาดกลางและเล็กเท่านั้น.
บทเรียนที่เราต้องฟ่าฟันอีกครั้ง เมื่อเราได้รับโอกาส ในงานระดับชาติ ….ซึ่งเรารู้แม้ใส่ Server ราคาหลายล้านก็ไม่ได้สามารถทำได้
เราจึงเปลี่ยนการออกแบบสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ ข้อมูลขนาดใหญ่ มาเป็นการทำ “Cluster” ราวๆปี 2552 ในงาน Project กระทรวงฯ แห่งหนึ่ง ทำร่วมกับ TOT
ข้อมูล Log ในแต่ละวัน ในสมัยโน้นไม่น้อยกว่า 10G ต่อวัน (ที่มีการบีบอัดข้อมูลแล้ว)
บน Bandwidth เครือข่ายที่เราสู้ได้ตอนนั้นคือ 40G. ย้อนไปเกือบ 10ปีนะ จน Aggregation load balancer. ยี่ห้อที่เรานำมาใช้คือ Anue Network ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว เราแยกข้อมูลให้วิ่งออกทีละ 1G เพื่อมารับข้อมูลและวิเคราะหในงานนี้ EPS ไม่น้อยกว่า 50,000 session ต่อวินาที กระนั้นเราแทบจะต้านทานข้อมูลมหาศาลที่ไหลมาในระบบเราไม่ได้ หน้าที่ผมตอนนั้นไม่เพียงแต่ออกแบบระบบให้รองรับข้อมูลได้แล้ว ยังต้องเฝ้าระวังให้ระบบพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย แต่เราก็ผ่านจุดนั้นไปได้





ทีมงานเราได้เรียนรู้ระบบ Cluster มาจากเหตุการณ์นี้ แต่ในสมัยนั้นการทำงาน Cluster. ที่เราทำได้เป็นเพียงระดับ OS และ database. เวลาเราแก้ไขปรับเปลี่ยนโค้ดซอฟต์แวร์ เปลี่ยนทีมงานเขียนโปรแกรม มันทำให้เราต้องทำระบบใหม่อยู่เรื่อยๆ
ผ่านมาเกือบ 10 ปี การเรียนรู้ว่าเราต้องปรับตัว. การปรับตัว คือต้องแสวงหาความรู้. และทดลองทำ เราต้องทำและสู้กับมันอีกครั้ง. เมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน. ….





Big Data ที่เกิดได้ง่ายที่สุด คือ เอา Log files มาวิเคราะห์
การออกแบบเราจึงเปลี่ยนไป และเราก็ได้เรียนรู้ว่า เมื่อทิศทางเป็น Cloud computing. แล้วเราจะเอาข้อมูลขนาดใหญ่นี้ไป สิงสถิตถ์ ที่ไหนดี. จะในประเทศ หรือ ต่างประเทศ
คำตอบที่ได้ คงต้องไปพึ่งพวกที่เป็น aws (amazon), google cloud, cloud microsoft azure และ digitalocean. ซึ่งอยู่ต่างประเทศทั้งหมด และยิ่งเรายิ่งห่างด้านเทคนิค บุคคลากร และกระบวนการที่ทำ ยิ่งห่างต่างประเทศ ชนิดที่ไม่สามารถตามทันได้เลย จนมีความจำเป็นที่ต้องไปใช้ข้อมูลฝั่งเขาหมด แบบให้ข้อมูลเขาแบบหมดเนื้อหมดตัวจริงๆ
ในหลายๆครั้ง เมื่อเราได้คุยเรื่อง Big Data ทำไมผมถึงกล้าพูดนักว่า “Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย”
เมืองไทยยังหาแหล่งสถิตย์ของข้อมูลขนาดใหญ่ นั้นทำได้ยาก(ส์) ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
  1. ขาด Cloud Computing. Infrastructure Management ความพร้อมของ IDC (Internet Data Center) ถึงแม้เรามีหลายเจ้าในประเทศ. “ประเทศเราพร้อมในด้าน Infrastructure แต่ขาดความพร้อมในการบริหารจัดการ”
หากพิจารณาให้ดี ข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ฝั่งนี้จะอยู่ที่ IDC โดยทั้งสิ้น จะทำเป็น Public Cloud Services หรือ จะทำเป็น Private Cloud Services ก็ย่อมทำได้ แต่แล้วทำไหมเรายังขาดเรื่องการบริหารจัดการอยู่อีก เป็นเพราะการบริหารจัดการนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากกระบวนการเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วกระบวนการเราผ่าน เราได้ ISO ครบถ้วนที่ IDC พึ่งจะมี สิ่งที่ขาดคือ เทคโนโลยี และ คน
เทคโนโลยี IDC ไหนที่ไม่ใช้ Open Source และเขียนโค้คเองไม่ได้ จะต้นทุนสูงและคืนทุนได้ยาก ซึ่งหากหันไปดู IDC ในไทยโดยส่วนใหญ่ยังติดกับดัก การพึ่งพาเทคโนโลยีที่เป็น Enterprise เกรดจึงไม่สามารถไปถึงขั้นตอนที่กล่าวได้ และลองหันมาดูยักษ์ใหญ่ เช่น Cloudflare, Amazon aws และ Digital Ocean ได้ ไม่มีการใช้. brandname โดยเฉพาะตัวที่เปลืองต้นทุน ไม่ว่า Application Load balancing, Web Application Firewall, แม้กระทั่ง vm virtual machine มักใช้ docker และ open source ส่วน Google และ Microsoft ไปไกลกว่านั้น ยังสร้างเครื่องมือ Tools มาเองด้วย เช่นการเกิดขึ้นของ Kubernetes เป็นต้น
ซึ่งจากกับดักนี้เองทำให้ IDC ในไทยไม่สามารถพัฒนาให้หลุดพ้นการขายแบบธุรกิจโมเดลเดิมที่เคยเป็น เช่นขาย Co-lo, VPS, และ Hosting เป็นต้น
สรุปง่ายๆ ว่า IDC ไหนไม่ใช้ Open Source หรือใช้ไม่เป็นมีหวังเจ๊ง … เพราะ ROI คุณจะคืนทุนเมื่อไหร่ เมื่อเทียบกับการแข่งขันระดับโลกที่สามารถเข้ามาแย่งลูกค้าเรานอกพรมแดนได้ตลอดเวลา เช่น aws, digital ocean และ google cloud เป็นต้น
เมื่อขาดเทคโนโลยี จะทำให้ขาดความพร้อมใน 3 ด้าน คือ ระบบที่ทำงานได้ตลอดเวลา (Zero downtime) , รองรับการขยายตัวในอนาคต โดยไม่ถูกจำกัดด้วยฮาร์ดแวร์ (scalability), Automatic deployment. ยังไม่มีให้เลือกได้ดีเท่าต่างประเทศ.
ส่วนเรื่องสำคัญ คือ คนที่รู้ Open Source ขนาดนั้นจะหาได้ที่ไหน ที่มี skill ที่พัฒนา Tools ได้เองต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์มาก มีจำนวนน้อยมากในประเทศไทย
เป็นเหตุผล ทำให้เราเสียโอกาส. ข้อมูลจึงไหลไปอยู่ต่างประเทศ มากกว่าอยู่ในประเทศไทย
2. ขาดคนทำพวก Application Programming Management.
เราขาดบุคลากร คนที่รู้และปฏิบัติได้ ในการสร้างระบบ เรียกว่า “Microservice” ที่ไว้ค่อยจัดการกับ API และระบบ Automatic ด้านข้อมูล และการจัดการด้านโปรแกรมมิ่ง





การศึกษาของเราไม่ได้สร้างให้เด็กรุ่นใหม่ เรียนรู้กับวิธีการใหม่ๆ. หรือไปไม่ทัน. เราต้องรู้ในแต่ละระดับ เช่นรู้การทำงาน VM แบบ Container โดยใช้ Docker, เราต้องเรียนรู้การบริหารจัดการ Docker อย่าง Kubernetes (google สร้างมา), Docker swarm เหล่านี้คือ Orchestration บนการทำงานแบบ Agile เพื่อการทำเกิด “Resilience System” ทำให้เรายืดหยุ่นและคงทน ไม่ยึดติดที่บุคคล ระบบพร้อมทำงานตลอดเวลา.
“พวกนี้คือตัวเปลี่ยนโลก” ที่อยู่ ระบบ Backend หลังบ้านที่ผู้บริหารไม่สามารถเข้าถึงได้. ส่วน GUI ภายใต้หน้ากากที่ซับซ้อน จะใช้พวก ELK (Elasticsearch, Logstash, and Kibana) ต่อไป ขึ้นอยู่ว่าเราจะออกแบบงานอะไร. จะใช้ Bruffer มาช่วย เช่น radis หรือจะ cluster Hadoop. ก็แล้วแต่จะออกแบบกัน ซึ่งอย่างไรแล้วต้องมี Backend มาก่อนที่ว่ามาก่อน เป็นต้น
ในยุคนี้ ต้องบอกว่าเป็นโลกของ Open Source โดยสมบูณร์แบบอย่างแท้จริง หากใครยังคิดว่า Open Source และ Tools ที่ใช้ open source ไม่มีมาตรฐานล่ะ คุณจะตกการพัฒนาใหม่ๆ แบบตามไม่ทัน ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะ code ที่ดีมีคนจำนวนมากช่วยกันปรับปรุง ถูกเก็บการแก้ไขผ่าน ระบบ Github เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้ ประเทศเรายังขาดนักออกแบบระบบแนวใหม่เช่นนี้ อยู่จำนวนมาก. ทำให้เราเสียโอกาสการได้ทำที่ ที่ไว้สิงสถิตย์ของ Big Data
คนไทยที่ได้ทำ ส่วนใหญ่จะมาจากต่างประเทศ หรือได้ลองเล่นสนามจริงในประเทศไทย ก็น่ามีเพียงธนาคาร และที่มีข้อมูลตลอดเวลาเช่น ตลาดหลักทรัพย์ ในการซื้อขายหุ้น และ พวกที่ทำ SIEM Centralized Log Management เป็นต้น ที่จะเข้าใจในจุดนี้ได้
3. เวที ให้แสดงข้อมูลขนาดใหญ่ (ไม่มี)
หากเราจะมี Big Data ได้สมบูรณ์ เราต้องมีการทำระบบวิเคราะห์ข้อมูลการไปให้ถึงในระดับปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) นั้นนอกจากเราต้องมีอะไรบ้าง
อันดับแรกเราต้องมีข้อมูล และข้อมูลต้องบริหารจัดการแบบข้อ 1 และข้อ 2 ที่กล่าวมาได้ เราจึงนำข้อมูลเหล่านี้ มาทำ data science โดยผ่านการคำนวณ แบบ Machine Learning ซึ่งส่วนนี้เมืองไทยไม่ได้ขาดมาก มีผู้เชี่ยวชาญอยู่มาก. มีงานวิจัยอยู่มากในประเทศไทย
แต่เราไม่มีเวทีจริงให้เล่น ให้ลองผิดลองถูก เพราะไม่รู้จะเอาข้อมูลอะไร บริษัทใหญ่เท่านั้นที่มี แอพมือถือรายใหญ่ เท่านั้นที่มี. ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในต่างประเทศทั้่งสิ้น.
ไม่ว่าเราจะนำข้อมูลจากที่ไหน Log files เพื่อให้บริการ MSSP, ข้อมูลจาก crawler ข้อความ จาก website, Social network รูปภาพ, ใบหน้าในกล้องวงจรปิด, ข้อมูล transaction การโอนเงิน และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เราต้องทำตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ที่กล่าวมา. หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปล. ข้อดีของการเป็นเด็ก เราจะได้ศัพท์ใหม่ ที่เราต้องรู้กันไป แบบ Life Long Learning. จริงไหมครับ ฝากไว้แบบคร่าวๆ เช่นนี้ โดยเฉพาะข้อ 2 เป็นการออกแบบมีรายละเอียดมากมาย ที่หลายคนมองข้ามไป
นนทวัตต์. สาระมาน
Nontawatt  Saraman
15/12/61

วันพุธ, พฤษภาคม 22

สร้างชาติด้วยดิจิทัล ให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว

นายนนทวัตต์ สาระมาน Nontawatt Saraman 
ได้ให้สัมภาษณ์ เรื่อง ทิศทางประเทศไทยกับยุค 4.0 ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 

กล่าวโดยย่อ “ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรส่งเสริมนวัตกรรมที่เกิดจากสร้างสรรค์โดยคนไทย ปลูกจิตสำนึกนี้ไปทุกภาคส่วน
ด้วยประโยคที่ว่า “การสร้างชาติ ด้วยดิจิทัลให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว”
เพราะการขับเคลื่อนธุรกิจในยุตปัจจุบันมีการผูกขาดทางด้านข้อมูล Big data ล้วนแล้วแต่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย
เรามีปัญหาในด้านการเก็บภาษีกับยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลข้ามชาติ เหตุเป็นเพราะโลกเปลี่ยนเป็นการขับเคลื่อนแบบดิจิทัล ห่วงโซ่ธุรกิจแนวใหม่ที่เริ่มไร้คนกลางมากขึ้น ใครมี Platform และมี IDC ที่พร้อมด้วย infrastructure จะได้เปรียบ ซึ่งประเทศเรายังปรับตัวไม่ทัน
Big data จากอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งในไทยเกินครึ่งเก็บข้อมูลอยู่ IDC ในต่างประเทศ
เรายังไม่มีแบนด์ที่เกิดจากคนไทย ที่สร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ ….
..ถึงเวลาที่เราต้องมาให้ความสำคัญ Digital Thailand First ให้โอกาสคนไทยด้วยกันก่อน”



วันอังคาร, เมษายน 30

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Digital Council of Thailand) ประชุมคณะกรรมการ

 สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Digital Council of Thailand)  ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1

ภาพประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา

 

เป็นภาพถ่ายรูปร่วมกันอย่างเป็นทางการ ของกรรมการสภาดิจิทัลฯ ถึงความสำเร็จในการจัดตั้งสภาแห่งนี้มาได้

หลังจากได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ให้มีสภาดิจิทัลฯแห่งนี้ขึ้น

ทางสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ เป็นหนึ่งตัวแทนในสภาจะทำหน้าที่ให้อย่างเต็มที่เพื่อยกระดับประเทศไทยด้วยดิจิทัลต่อไป

วันพุธ, มีนาคม 20

เมื่อบริษัทยกทีมไปญี่ปุ่น

เมื่อบริษัทยกทีมไปญี่ปุ่น ...
เห็นรอยยิ้ม พี่ๆน้องๆ เห็นความเป็นหนึ่งเดียวของพนักงานบริษัทฯ ก็ดีใจ..ที่เราทุกคน อดทนสู้ ล้มลุกคลุกคลาน มาด้วยกันกว่า 10 ปี


เราจะเดินหน้าไปด้วยกันนะ..แมวเหมียว SRAN Team

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 20

Log ใน 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ใน 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เราพบเหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ 83,770,926 เหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นมีการเคลื่อนไหว TCP 52,313,774 เหตุการณ์
UDP 30,864,576 เหตุการณ์
ICMP 592,361 เหตุการณ์
ข้อมูล Download 2,611 GB Upload 6,354 GB



มีความเสี่ยงระดับสูง 276,371 เหตุการณ์
ระดับกลาง 509,754 เหตุการณ์
ระดับต่ำ 8,334 เหตุการณ์


บน Sensor on 8 ตัว ทุกตัวโยนข้อมูลเข้าส่วนกลาง

ผ่านไป 90 วัน ข้อมูลจะขนาดไหนกัน จะเก็บอย่างไร จะอ่านอย่างไร จึงออกรายงานได้ (วัดกันตรงนี้)

** นี้เป็น Big Data ที่ใกล้ตัวเราที่สุด เกิดขึ้นตลอดเวลา ในที่ทำงานของคุณ
โดยทั้งหมดนี้ จะเห็นขึ้นได้นั้นอยู่ที่การออกแบบ